จุรินทร์ ลุกแจงฝ่ายค้าน ย้ำรัฐบาลดูแล เศรษฐกิจฐานรากครบวงจร โต้สมพงษ์เข้าใจคลาดเคลื่อนมาก

18 ตุลาคม 2562 เวลา 12.00 น.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงข้ออภิปรายฯจากส.ส.เกี่ยวกับงบประมาณและโครงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานราก โดยกล่าวว่ามี 2 ประเด็น ประเด็นหลักคือสินค้าเกษตร และการส่งออก รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะสินค้าเกษตรคือหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจฐานราก หนึ่งในนโยบายเร่งด่วน คือนโยบายประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งมี 5 สินค้า คือ ข้าว มัน ยาง ปาล์ม ข้าวโพด และยังให้ความสำคัญกับพืชเกษตรอื่นๆ แต่ใข้ยาคนละขนาน ย้ำว่าการประกันรายได้เกษตรกรไม่ใช่การประกันราคา เนื่องจากขัดกับหลักการขององค์การการค้าโลก และจะขัดกับหลักการอุปสงค์ อุปทาน กลไกทางการตลาด รัฐบาลไม่สามารถกำหนดราคาได้ รัฐบาลนี้ไม่มีนโยบายประกันราคา แต่มีการประกันรายได้ว่าแม้ราคาจะตกต่ำ เกษตรกรจะได้รับหลักประกันทางรายได้ ให้เพียงพอต่อการดำรงขีพ

นายจุรินทร์ อธิบายว่า เกษตรกรมีรายได้ 2 ทาง หนึ่ง คือรายได้จากการขายพืชผลเกษตรตามราคาตลาด ณ เวลานั้น และมีแหล่งรายได้ที่สอง คือเงินส่วนต่างซึ่งคือส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาตลาดอ้างอิง และรัฐบาลจะโอนเงินส่วนต่างนี้เข้าบัญชี ธกส ของเกษตรกรโดยตรง ไม่มีการตกหล่นระหว่างทาง ซึ่งจะเป็นเงินอีกก้อนที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ราคาสินค้าตกต่ำ และบัดนี้นโยบายประกันรายได้เกษตรกรมีความคืบหน้าเป็นลำดับ

การประกันรายได้ปาล์มน้ำมัน ประกันกิโลละ 4 บาท งบประมาณ 14,000 ล้านบาท และได้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรและเมื่อวันที่ 1 ตค.2562 สูงสุดถึงครัวเรือนละ 12,000 บาท และจะมีการโอนปีละ 8 งวด ทุกๆ 45 วัน งวดต่อไปคือ 15 พย 62 และยังมีมาตรการเสริมอื่นๆอีก เพื่อกระตุ้นราคาปาล์มให้สูงขึ้น เพื่อสร้างรายได้ และลดภาระงบประมาณของรัฐบาลด้วย และถ้าราคาตลาดสูงกว่าราคาประกัน เกษตรกรจะได้รายได้เพิ่มขึ้น โดยที่ไม่มีภาระต่องบประมาณ โดยรัฐบาลส่งเสริมการใข้ B10 และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตนำปาล์มไปผลิตไฟฟ้า ตั้งเป้า 1300000 ตัน สำรองไว้ 1 ล้านตัน และให้ติดมิเตอร์ที่ถึงน้ำมัน เพื่อวัดสต๊อกน้ำมันของประเทศเป็นจริงที่สุด และตั้งคณะทำงานปราบปรามการลักลอบการนำเข้าน้ำมันปาล์มเถื่อน ทั้งหมดนี้ คือนโยบายปาล์มยั่งยืน

การประกันราคาข้าว ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 16 ตัน ตัวเลขทั้งหมดมาจากการประชุมสามฝ่ายตอนนี้ได้โอนเงินส่วนต่างให้ชาวนาเรียบร้อยแล้ว และจะโอนเงินทุก 15 วัน จนกระทั่งหมดเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตามเวลาการเก็บเกี่ยวที่เกษตรกรแจ้งไว้

สำหรับเกษตรกรภาคใต้ ที่ไม่ได้รับเงินส่วนต่างเมื่อวันที่ 15 ตค แต่ตอนนี้ ธกส ได้โอนแล้ว 2473 รายแล้ว เมื่อวันที่ 17 ตค ทั้งนี้ ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเหนียว ไม่ได้รับเงินส่วนต่างเพราะราคาตลาดสูงกว่าราคาประกันแล้ว จึงไม่ได้รับการชดเชยส่วนต่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อชาวนา เพราะชาวนาจะได้รับรายได้สูงกว่ารายได้ประกันเสียอีก ซึ่งเมื่อไหร่ราคาข้าวหอมต่ำกว่าราคาอ้างอิง ชาวนาก็จะได้รับเงินชดเชยส่วนต่างแน่นอน สำหรับชาวนาที่ปลูกข้าวบนที่ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในตลาดโลกที่จะรับซื้อเฉพาะพืชผลที่ปลูกบนที่ที่มีกรรมสิทธิ์ ชาวนาประเภทยนี้จะได้รับเงินชดเชย แต่ขอให้ไปขึ้นทะเบียนตามความเป็นจริง ชาวนาที่ประสบกับน้ำท่วมจะได้เงินชดเชยด้วย เพราะถทือว่าได้ปลูกข้าวจริง รัฐบาลยังดูแลชาวนาผู้ปลูกข้างจริงทุกคน

ยางพารา มีการตั้งงบไว้แล้ว 24000 ล้าบาท ครมเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 15 ตค 62 และประกันยางสามชนิด ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%)57 บาท/กิโลกรัม ยางก้อนถ้วย (DRC 50%)23 บาท/กิโลกรัมครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ จะโอนส่วนต่าง 1-15 พย ใช้เวลา 15 วันเนื่องจากต้องมีการตรวจสวน โดยการโอนต้องเสร็จภายในวันที่ 15 พย ซึ่งตอนนี้ยังสามารถขึ้นทะเบียนได้ ขอให้ขึ้นทะเบียนตามความเป็นขจริง คนกรีดยางก็ได้ ตามสัดส่วน 60 /40 กับเจ้าของสวน

มันสำปะหลัง มีการนัดประชุมสามฝ่าย ที่อุดร 27 ตค 2562 ประชุมข้าวโพด ที่เพชรบูรณ์ ต้นเดือน พย นี้ และจะนำเรื่องเข้า ครม.ตามกระบวนการเหมือนสินค้าเกษตรอื่นต่อไป

ด้านผลไม้ รัฐบาลดูแลอย่างดี ทุเรียน ลำไย มีความต้องการสูง ผมได้สั่งการให้ทมีการประกาศราคาลำไยตอนเช้าเพิ่ช่วยให้เกษตรกรทราบว่าจะตัดหรือไม่ มังคุด ลองกอง อาจจะไม่ดีเลิศ แต่สถารการณ์เป็นไปด้วยดี อนุญาตให้หิ้วขึ้นเครื่องบินได้ฟรี 20 กิโล ในสายการบิน นกแอร์ แอร์เอเชีย ไทยสไมล์ และ Bangkok airways และไปรษณีย์ไทยช่วยดำเนินการระบายผลไม้ได้อย่างดี มะพร้าว ราคาสูงขึ้น ราคาลูกละ 15 บาท และผมจะนำทัพไปเปิดตลาดผลไม้ที่จีนด้วย

สำหรับการส่งออก 10 เดือนแรกติดลบร้อยละ 2.5 เกิดจากภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้ง Brexit ทำให้หลายประเทศส่งออกติดลบ จีน 0.5 เกาหลี 9.8 สิง5.7 อินโด 8.0 มาเล4.3 ยกเว้น CLMV ที่ยังบวก ทำให้หลายประเทศต้องส่งเสริมการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ ไทยเองก็เป็นหนึ่งในนั้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาตัวเลขการส่งออก การเจรจา RCEP จึงเกิดขึ้น และจะมีการสรุปเร็วๆนี้ 31 ตค.-4 พย. เราจะพยายามผลักดันให้สรุปให้ได้ ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดที่มีประชากรมากกว่าครึ่ง และ GDP มากกว่าร้อยละ 30 ของโลกได้ เราจะเริ่มเจรจากับ EU ด้วย ซึ่ง EU พร้อมจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับไทยในทุกมิติ และเราจะไม่ทิ้งอังกฤษ จะมี FTA THAI-UK THAI-Turkey ผมตระหนักดีว่าสถานการณ์ส่งออกไม่ได้อยู๋ในภาวะปกติ เราจึงตั้ง กรอ พณ เพื่อประสานความร่วมมือ โดยให้เอกชนเป็นพระเอก เป็นทัพหน้า ภาครัฐเป็นทัพหนุน เพื่อจับคู่ผู้ส่งออก นำเข้า บัดนี้มทีการตั้ง war room รายสินค้าและบริการ และมีความคืบหน้าไปมากแล้ว

ทูตพาณิชย์ จะต้องไม่เหมือนเดิม จะไม่ทำหน้าที่เฉพาะส่งเสริมการขาย หรือเจรจาทางการค้า แต่ต้องไปเป็นพนักงานขายด้วยตัวเอง เชิญทูต พณ ทั่วโลกมาดูกระบวนการผลิตสินค้าจริงๆ เพื่อให้มีข้อมูลในการขายสินค้า โดยเฉพาะ สินค้า ข้างมัน ยาง ปาล์ม รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรม ผม รมว พณ ก็เป็นพนักงานขายด้วย ผมนำทัพไปขายสินค้าได้หลายประเทศแล้ว ที่ หนานหนิง ช่วยขายมัน 2.6 ล้านตัน ลอตเดียว 18000 ล้านบาท และยัวมีแนวโน้มขายได้อีก เพราะจีนต้องการนำไปทำพลังงาน และได้เจรจากับเลขาพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อจัดเทศกาลผลไม้ไทย เอามะม่วง ลำไย มะขาม และพืชดาวรุ่ง คือ มะพร้าวน้ำหอม ที่คนจีนต่างชื่นชอบ ซึ่งจะช่วยให้ราคาสูงขึ้น และนำยางไปขายที่อินเดีย รวม 9000 ล้านบาท และจะเชิญมา ซื้อสินค้าเกษตรไทยมากมาย ไม้ยางพารา จะนำสมาคมไปขายไม้ยาง เพื่อนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ ทดแทนไม้สัก มั่นใจว่าจะบุกตลาดอินเดียได้แน่ และจะนำทัพไปตุรกีและเยอรมัน เพื่อขายยางและมัน ในเดือน พย. ด้วย

การขายข้าวกับอิรัก ซึ่งไทยได้เสียตลาดนี้ไป เนื่องจากเอกชนของเรารายหนึ่งที่ส่งข้าวคุณภาพต่ำไปให้อิรัก โกรธมาก ปมได้คลี่คลายปัญหานี้ได้ มอบหมายให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เดินทางไปอิรัก จนอิรักยอม ทำ MOU กับไทย เพื่อรับซื้อข้าว โดยขอให้ พณ รับรองคุณภาพ เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

ด้านการค้าชายแดน เอกชนมีอุปสรรคมากมาย จึงได้แก้หลายข้อ ทั้งที่สะเดา มุกดาหาร และแม่สอด และได้ยืนยันแล้วว่าสะพานมิตรภาพแห่งที่สองเปิดได้แล้ววันที่ 30 ตค จะช่วยส่งเสริมการส่งออกไปพม่า ถึงอินเดีย ทั้งหมดนี้ใช้เวลาชี้แจงสมาชิกเพื่อให้ทราบว่ารัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก รายได้เกษตรกร และการส่งออกเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นนายจุรินทร์ยังกล่าวด้วยว่าได้เห็นความตั้งใจของนายกรัฐมนตรีวนที่ประชุมครม.ทุกครั้งที่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องและการแก้ไขเศรษฐกิจฐานราก