สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 13 ก.ค. 68 เวลา 7.00 น.

1. ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงราย (116 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.หนองบัวลำภู (55 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (57 มม.) ภาคตะวันออก : จ.นครนายก (35 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (60 มม.) ภาคใต้ : จ.สตูล (63 มม.)

สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศลาว และประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง

คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 14 – 18 ก.ค. 68 ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน หลังจากนั้นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้นทำให้ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักมากบางแห่ง

2. พื้นที่ประสบอุทกภัย : สถานการณ์อุทกภัย วันที่ 12 ก.ค. 68 ในพื้นที่ 6 จ. 13 อ. ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองเชียงราย และเชียงแสน) จ.ลำปาง (อ.วังเหนือ) จ.น่าน (อ.นาน้อย เวียงสา แม่จริม และนาหมื่น) จ.แพร่ (อ.สอง และร้องกวาง) จ.อุตรดิตถ์ (อ.ฟากท่า น้ำปาด และบ้านโคก) และ จ.ตราด (อ.เขาสมิง)

3. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 57% ของความจุเก็บกัก (46,116 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 38% (22,000 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด จำนวน 3 แห่ง ดังนี้ ภาคเหนือ : อ่างเก็บน้ำแม่จาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อ่างเก็บน้ำน้ำพุง อ่างเก็บน้ำลำปาว

เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 80-100% จำนวน 28 แห่ง ดังนี้ ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 แห่ง ภาคตะวันออก 4 แห่ง และภาคใต้ 3 แห่ง

เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 100% จำนวน 9 แห่ง ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 แห่ง และภาคตะวันออก 2 แห่ง

สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยเน้นการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน และจัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและทันท่วงที

4. การให้ความช่วยเหลือ : สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย ดังนี้

กองทัพบก ดำเนินการสนับสนุนกำลังพลและเครื่องจักรสาธารณภัย ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย และเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในพื้นที่ จ.น่าน (ต.น้ำมวบ อ.เวียงสา) จ.แพร่ (ต.ห้วยโรง และ ต.ไผ่โทน อ.ร้องกวาง) และ จ.อุตรดิตถ์ (ต.ม่วงเจ็ดต้น อ.บ้านโคก และ ต.ฟากท่า อ.ฟากท่า)

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการสนับสนุนเครื่องจักรสาธารณภัย เรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำ และรถปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ อ.นาน้อย อ.เวียงสา และ อ.นาหมื่น จ.น่าน อ.ฟากท่า และ อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ และลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมสำรวจความเสียหายจากน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมของประชาชนในพื้นที่ ต.ดอยลาน อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย