1. ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.น่าน (89 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.นครราชสีมา (47 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (41 มม.) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (10 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ตราด (12 มม.) ภาคใต้ : จ.สงขลา (42 มม.)
วันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน-ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 24 – 27 พ.ค. 68 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน หลังจากนั้น ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งและมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือ เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
2. คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวัง แม่น้ำสายหลัก :
น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน
3. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 55% ของความจุเก็บกัก (44,318 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 35% (20,153 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : อ่างเก็บน้ำแม่จาง
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 80% จำนวน 35 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 8 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และภาคใต้ 8 แห่ง
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยเน้นการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน และจัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและทันท่วงที
4. มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 : สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 ดังนี้
กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่บริเวณฝายน้ำล้นบ้านทุ่งแร่ ต.หมูม่น อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี บริเวณพื้นที่ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม บริเวณคลองส่งน้ำ 3 ซ้าย ทุ่งป่าโมก ต.ลาดน้ำเค็ม อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งได้ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและสิ่งกีดขวางทางน้ำ บริเวณสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ปากคลองมะขาเฒ่า-อู่ทอง ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการส่งน้ำ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนอย่างมีประสิทธิภาพ
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงาน การรายงานระบบเตือนภัยน้ำหลาก-ดินถล่ม (Early Warning) และการเตรียมความพร้อมแนวทางการปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกันในพื้นที่ จ.ภูเก็ต เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ