1. ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.ลำพูน (43 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุดรธานี (62 มม.) ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ (80 มม.) ภาคกลาง : จ.สมุทรปราการ (50 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (106 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (132 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 9 – 12 พ.ค. 68 ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นและเกิดตกหนักบางแห่งในพื้นที่ สำหรับภาคใต้ มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น
2. พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก/ดินโคลนถล่ม :
เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและดินโคลนถล่ม จากฝนตกหนักและปริมาณฝนสะสม ช่วงวันที่ 7-11 พ.ค. 68 ในบางส่วนของพื้นที่ ดังนี้
– ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และพะเยา
– ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
– ภาคใต้ บริเวณ จ.ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่ ตรัง และสตูล
3. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 56% ของความจุเก็บกัก (45,196 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 36% (20,984 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : อ่างเก็บน้ำแม่จาง
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 80% จำนวน 33 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 8 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 แห่ง ภาคตะวันออก 2 แห่ง และภาคใต้ 6 แห่ง
4. มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2568 : สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 ดังนี้
กรุงเทพมหานคร (กทม.) เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ โดยดำเนินการล้างทำความสะอาด ท่อระบายน้ำ 2,593 กม. ขุดลอกคลอง 190 กม. และเปิดทางน้ำไหล 970 กม. นอกจากนี้ กทม. ได้ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษาระบบระบายน้ำ เช่น สถานีสูบน้ำ 200 แห่ง บ่อสูบน้ำ 349 แห่ง ประตูระบายน้ำ 243 แห่ง อุโมงค์ระบายน้ำ 4 แห่ง และระบบหน่วงน้ำ (แก้มลิง และ Water bank) 37 แห่ง รวมถึงเตรียมความพร้อมระบบตรวจวัดและคาดการณ์สภาพอากาศในพื้นที่ กทม. ของศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการติดตามสถานการณ์น้ำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วมได้ติดตั้งระบบระบายน้ำชั่วคราวเพิ่มเติม เพื่อให้มีศักยภาพในการระบายน้ำได้มากขึ้น
ทั้งนี้ กทม. ได้ดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน 9 มาตรการ เพื่อพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีแผนปฏิบัติการ (action plan)เตรียมพร้อมเมื่อเกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ โดยได้จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ และกำลังพล เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้อย่างทันท่วงที