1. วันนี้ : ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 20 เม.ย..68 ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ จะทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 21 – 24 เม.ย..68 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้จะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 59% ของความจุเก็บกัก (47,282 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 40% (23,137 ล้าน ลบ.ม.)
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 12 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : กิ่วลม แม่มอก และทับเสลา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง และสิรินธร
ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ และกระเสียว
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยกว่า 30% จำนวน 91 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 12 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 50 แห่ง ภาคกลาง 5 แห่ง ภาคตะวันออก 12 แห่ง ภาคตะวันตก 10 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง
สทนช. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วนตลอดฤดูแล้ง และสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน การให้ความช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ
3. สถานการณ์เพาะปลูกพืช : แผนและผลการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ปี 2567/2568 ทั้งประเทศ ณ วันที่ 18 เม.ย. 68 แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 15.38 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 15.42 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 101 ของแผนการเพาะปลูก ซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก จำแนกได้ดังนี้
– แผนการเพาะปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ 12.73 ล้านไร่เพาะปลูกแล้ว 13.81 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 108 ของแผนการเพาะปลูก ซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก และปัจจุบันข้าวนาปรังได้เก็บเกี่ยวแล้ว 7.83 ล้านไร่
– แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผักทั้งประเทศ 2.65 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 1.61 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 61 ของแผนการเพาะปลูก
สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง ทั้งในและนอกเขตชลประทาน 8.81 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 9.12 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 104 ของแผนการเพาะปลูกซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก จำแนกได้ดังนี้
– แผนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง 8.05 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 8.65 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 107 ของแผนการเพาะปลูก ซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก และปัจจุบันข้าวนาปรังได้เก็บเกี่ยวแล้ว 6.66 ล้านไร่
– แผนการเพาะปลูกพืชไร่ พืชผัก 0.76 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 0.47 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 62 ของแผนการเพาะปลูก
ทั้งนี้ สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการติดตามสถานการณ์ด้านการเพาะปลูกและการใช้น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ สื่อสารสร้างความเข้าใจ และลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำอย่างประหยัดและเหมาะสมตามแผนการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกเกินแผนการเพาะปลูก นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรผู้ใช้น้ำมีบทบาทในการบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มแข็ง รวมถึงการรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางในการให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
4. ข่าวประชาสัมพันธ์ : สทนช. ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 ดังนี้
– กองทัพบก ดำเนินโครงการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำชั่วคราว-กึ่งถาวร กั้นขอบแม่น้ำสายในเขตพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร โดยเริ่มโครงการก่อสร้างฯ ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 68 และคาดแล้วเสร็จวันที่ 15 มิ.ย. 68 และดำเนินการขุดลอกแม่น้ำรวกในเขตพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ลงไปจนถึงสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยมีหน่วยงานทหารต่างๆ ให้การสนับสนุนงานสำรวจหน้าตัดลำน้ำและขุดลอกแม่น้ำรวกเป็นช่วงๆ เพื่อลดความดันของน้ำและตลิ่งทรุด