สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 เม.ย. 68 เวลา 7.00 น.

1. วันนี้ : ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน และมีอากาศร้อนโดยทั่วไป ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น

คาดการณ์ : วันที่ 17 – 21 เม.ย..68.. ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ ลมตะวันตกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ส่งผลให้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 59% ของความจุเก็บกัก (47,593 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 40% (23,449 ล้าน ลบ.ม.)
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 12 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : กิ่วลม แม่มอก และทับเสลา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง และสิรินธร
ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ และกระเสียว
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยกว่า 30% จำนวน 88 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 10 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 50 แห่ง ภาคกลาง 5 แห่ง ภาคตะวันออก 12 แห่ง ภาคตะวันตก 9 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง

สทนช. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วนตลอดฤดูแล้ง และสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน การให้ความช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ

3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากบางส่วนของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 15 – 17 เมษายน 2568 ดังนี้
1. ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ และตาก
2. ภาคกลาง บริเวณ จ.สระบุรี
3. ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ตราด
4. ภาคตะวันตก บริเวณ จ.กาญจนบุรี และเพชรบุรี
5. ภาคใต้ บริเวณ จ.ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส

สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนเตรียมพร้อมในการขนของขึ้นที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงที

5. สถานการณ์น้ำที่สำคัญ : สทนช. ติดตามสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การ 19,617 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุใช้การ แผนการจัดสรรน้ำทั้งฤดู 21,626 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีผลการจัดสรรน้ำทั้งฤดู (ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 67 ถึงปัจจุบัน) สะสม 19,109 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 88 ของแผนจัดสรรน้ำทั้งฤดู และระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำในอ่างฯ สะสม 554 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (อ่างฯ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำใช้การ 7,667 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุใช้การ แผนการจัดสรรน้ำ ทั้งฤดู 8,500 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีผลการจัดสรรน้ำทั้งฤดูสะสม 8,452 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 99 ของแผนจัดสรรน้ำทั้งฤดู และระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำในอ่างฯ สะสม 161 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ EEC.(อ่างฯ บางพระ หนองปลาไหล และประแสร์) มีปริมาณน้ำใช้การ 285 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุใช้การ แผนการจัดสรรน้ำทั้งฤดู 456 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีผลการจัดสรรน้ำทั้งฤดูสะสม 270 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 59 ของแผนจัดสรรน้ำทั้งฤดู

ทั้งนี้ สทนช. ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนและลำดับความสำคัญของการใช้น้ำเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้