1. วันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง จากประเทศจีนที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ เริ่มมีกำลังอ่อนลง และมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีฝนฟ้าคะนอง ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คาดการณ์ : วันที่ 16 – 20 เม.ย..68..ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น และลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 59% ของความจุเก็บกัก (47,688 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 41% (23,544 ล้าน ลบ.ม.)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 10 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : กิ่วลม แม่มอก และทับเสลา
ภาคเหนือ : ป่าสักชลสิทธิ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง และสิรินธร
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยกว่า 30% จำนวน 87 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 11 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 48 แห่ง
ภาคกลาง 5 แห่ง ภาคตะวันออก 12 แห่ง ภาคตะวันตก
9 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง
สทนช. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วนตลอดฤดูแล้ง และสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน การให้ความช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากบางส่วนในพื้นที่ ในช่วงวันที่ 15 – 17 เมษายน 2568 ดังนี้
1. ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงราย (อ.เวียงป่าเป้า) จ.เชียงใหม่ (อ.เมืองเชียงใหม่ จอมทอง เชียงดาว ดอยสะเก็ด ดอยหล่อ พร้าว แม่แจ่ม แม่แตง แม่ริม แม่วาง แม่ออน สันกำแพง สันทราย และอมก๋อย) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองแม่ฮ่องสอน และแม่สะเรียง)
จ.ลำปาง (อ.เมืองลำปาง งาว แจ้ห่ม เมืองปาน วังเหนือ สบปราบ เสริมงาม และห้างฉัตร) จ.ลำพูน (อ.เมืองลำพูน บ้านธิ ป่าซาง และแม่ทา) จ.พะเยา (อ.ปง) จ.แพร่ (อ.สอง) จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง และอุ้มผาง)
2. ภาคกลาง บริเวณ จ.สระบุรี (อ.แก่งคอย)
3. ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ตราด (อ.เขาสมิง และบ่อไร่)
4. ภาคตะวันตก บริเวณ จ.กาญจนบุรี (อ.เมืองกาญจนบุรี ทองผาภูมิ ไทรโยค บ่อพลอย ศรีสวัสดิ์ สังขละบุรี และหนองปรือ) จ.เพชรบุรี (อ.แก่งกระจาน)
4. ภาคใต้ บริเวณ จ.ระนอง (อ.กระบุรี) จ.สุราษฎร์ธานี (อ.ชัยบุรี พนมบ้านตาขุน พระแสง และเวียงสระ) จ.พังงา (อ.เมืองพังงา กะปง คุระบุรี ทับปุด และท้ายเหมือง) จ.กระบี่ (อ.เมืองกระบี่ เขาพนม คลองท่อม ปลายพระยา เหนือคลอง และอ่าวลึก) จ.ตรัง (อ.กันตัง วังวิเศษ สิเกา และห้วยยอด) จ.สตูล (อ.เมืองสตูล ควนกาหลง ควนโดน ท่าแพ ทุ่งหว้า มะนัง และละงู) จ.นครศรีธรรมราช (อ.ฉวาง ชะอวด ช้างกลาง ถ้ำพรรณรา ทุ่งสง ทุ่งใหญ่ และนาบอน) จ.พัทลุง (อ.เมืองพัทลุง ควนขนุน ป่าบอน และป่าพะยอม) จ.สงขลา (อ.นาทวี คลองหอยโข่ง ควนเนียง รัตภูมิ สะเดา และสะบ้าย้อย) จ.ยะลา (อ.เมืองยะลา กรงปินัง กาบัง ธารโต บันนังสตา เบตง ยะหา และรามัน) จ.นราธิวาส (อ.จะแนะ และระแงะ)
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนเตรียมพร้อมในการขนของขึ้นที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงที
5. สถานการณ์น้ำหลาก: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุฤดูร้อน รวม 2 จ. ดังนี้
จ.สุโขทัย อ.ศรีสัชนาลัย (ต.ท่าชัย) อ.สวรรคโลก (ต.ป่ากุมเกาะ ในเมือง หนองกลับ และนาทุ่ง) อ.บ้านด่านลานหอย (ต.ตลิ่งขาว และวังน้ำขาว) เบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ จำนวน 93 หลัง
จ.ลำพูน บ้านห้วยฮ่อมนอก ม.4 ต.ทาแม่ลอบ อ.แม่ทาเบื้องต้นส่งผลให้บ้านเรือนได้รับผลกระทบ จำนวน 5 หลัง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย