สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 ก.ค. 67 เวลา 9.00 น.

1.สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทย มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง

คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 9–13 ก.ค. 67 ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 49% ของความจุเก็บกัก (39,645 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 27% (15,482 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 5 แห่งภาคเหนือ : ภูมิพล และสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคตะวันตก: ปราณบุรี

3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร
– แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
– แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
– แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

4.แจ้งเตือน/ประชาสัมพันธ์ : สทนช. แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
ช่วงวันที่ 8 – 17 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ต้องเฝ้าระวังบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขัง ได้แก่
– ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม และอุบลราชธานี
– ภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
– ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ยะลา และนราธิวาส

5.ข่าวประชาสัมพันธ์ : สทนช. ยืนยันเขื่อนกั้นน้ำทะเลสาบต้งถิงที่จีนแตก ไม่ส่งผลกระทบถึงไทย

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 67 มณฑลหูหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เกิดฝนตกหนักสุดในรอบปีนี้ โดยส่วนหนึ่งของกำแพงเขื่อน
กั้นน้ำริมทะเลสาบต้งถิงได้พังทลาย ทำให้น้ำไหลบ่าท่วมสูง สถานการณ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ที่เกิดเหตุไม่มีทิศทางการไหลของน้ำมายัง
แม่น้ำโขง อีกทั้งสภาพภูมิประเทศและสภาพลุ่มน้ำ ไม่มีความเชื่อมโยงกันแต่อย่างใด

สทนช. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำทุกพื้นที่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในประเทศไทย ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสภาพ ความมั่นคงของอาคารชลศาสตร์ ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ พนังกั้นน้ำ เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ที่ กนช. และ ครม. ได้เห็นชอบตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝน
ที่ผ่านมา

6.สถานการณ์อุทกภัย : เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 67 เกิดสถานการณ์น้ำท่วม เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.อุตรดิตถ์ (ต.น้ำหมัน อ.ท่าปลา) และ จ.ปราจีนบุรี (ต.หนองแก้ว และโพธิ์งาม อ.ประจันตคาม) ปัจจุบันเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว จ.แม่ฮ่องสอน (ต.เมืองปอน อ.ขุนยวม) สะพานขาด ได้มีการวางสะพานชั่วคราวเพื่อให้รถสามารถสัญจรไปมาได้