1.สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 1.–.2 ก.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนช่วงวันที่ 3 – 4. ก.ค. 67 มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 50% ของความจุเก็บกัก (39,896 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 27% (15,733 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 5 แห่งภาคเหนือ : ภูมิพลและสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันตก: ปราณบุรี
3. คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร
– แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
– แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
– แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. สถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง : สทนช. ติดตามระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดในแม่น้ำโขง ณ วันที่ 29 มิ.ย. 67 สรุปสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง ดังนี้
– สถานีที่อยู่ช่วงเหนือเขื่อนไซยะบุรี (สปป.ลาว)
– สถานีจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีน (สปป.ลาว) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น และสถานีเชียงแสน จ.เชียงราย ระดับน้ำ
อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
– สถานีที่อยู่ช่วงท้ายเขื่อนไซยะบุรี (สปป.ลาว)
– สถานีเชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานีหนองคาย จ.หนองคาย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว สถานีบึงกาฬ จ.บึงกาฬ สถานีนครพนม จ.นครพนม สถานีมุกดาหาร จ.มุกดาหาร สถานีอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ และสถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
5. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (29 มิ.ย. 67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะลงพื้นที่ตรวจราชการพร้อมติดตามสถานการณ์น้ำและแนวทางการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ ในการนี้ นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการ สทนช. ได้ร่วมลงพื้นที่รัฐบาลมีนโยบายการบริหารจัดการน้ำ ดังนี้
5.1 กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
5.2 มอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยบูรณาการร่วมกับกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน จัดทำแผนจัดการรองรับแนวทางป้องกันบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง เพื่อประชาชนได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด
5.3 งบประมาณระยะยาวที่เกี่ยวกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการผันน้ำจากลำห้วยสำราญไปสู่ลำห้วยทา-ลำห้วยขะยูง ความยาว 30 กม. และ 2) โครงการผันน้ำฝั่งซ้ายลำห้วยสำราญไปสู่แม่น้ำมูล ความยาว 18 กม. ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา จะต้องเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2569 และโครงการระยะสั้นทำได้ทันที
5.4 ทุกหน่วยงานจะต้องมีแผนการเตรียมการบริหารจัดการน้ำรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนนี้ เนื่องจากอีสานตอนใต้จะต้องพึ่งเกษตรกรรมค่อนข้างมาก ซึ่งหากต้นน้ำดี มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี พืชผลผลิตทางการเกษตรก็จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีด้วย