ศธ.จับมือวุฒิสภา พัฒนาคนไทยสมรรถนะสูงขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ


สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดเวทีประชุมสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เรื่อง การขับเคลื่อน Soft Power แห่งชาติ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วันที่ 28 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ ระะดมความคิดเห็น และรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความสำคัญของการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วน โดยมีนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติขึ้นกล่าว ถึงบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการในการผลิตและพัฒนากำลังคนในการขับเคลื่อน soft power ของประเทศในมิติการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประเพณี

พร้อมด้วย นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา นายภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้เลขาธิการสภาการศึกษา นางอำภา พรหมวาทย์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและซอฟต์พาวเวอร์ทุกภาคส่วนจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย รวมทั้งสิ้นกว่า 170 หน่วยงาน เข้าร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

การประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติอย่างสูงจาก พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและพิจารณาเสนอแนะแผนกลยุทธ์การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงแห่งชาติ มาปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงแห่งชาติ นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม และประธานคณะกรรมการคัดเลือกเมืองสร้างสรรค์และเมืองแห่งการเรียนรู้ องค์การยูเนสโก มาร่วมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง มุมมองและทิศทางซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี มาร่วมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง คุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่นวัตกรรมนำพลเป็นซอฟพาวเวอร์ ทั้งนี้ สาระสำคัญที่ได้จากการประชุม มีดังนี้

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ได้กล่าวถึงซอฟต์พาวเวอร์กับการศึกษา ผ่านร่างแผนกลยุทธ์การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ไว้ว่า แผนดังกล่าวมีวิสัยทัศน์ คือ สืบสาน สร้างสรรค์และส่งเสริมภูมิพลังวัฒนธรรมไทย ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ และคุณค่า ต่อสังคม และความมั่นคงของชาติอย่างยั่งยืน โดยซอฟต์พาวเวอร์ หรือ “ภูมิพลังวัฒนธรรม” จะมาจากการขับเคลื่อนผ่านวัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ ผนวกกับศาสตร์พระราชาและแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ทั้งนี้ กุญแจสำคัญที่ก่อให้เกิด THAI Soft Power จะมาจากองค์ความรู้ ภูมิปัญญาและการจัดการความรู้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติและการส่งต่อ อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ จะขับเคลื่อนผ่าน 4 แผนกลยุทธ์ ได้แก่ (1) การสร้างระบบนิเวศ (2) การอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดมรดกวัฒนธรรม (3) การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานสร้างสรรค์และงานด้านภูมิปัญญาของไทย และ (4) การส่งเสริมความรักสามัคคี ภูมิใจในความเป็นไทย และส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทั้ง 4 แผนกลยุทธ์จะสอดคล้องกับการผลักดันวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F ของทางรัฐบาล

นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ได้กล่าวสะท้อนมุมมองและทิศทางซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ไว้ว่า ที่มาของคำว่า soft power ใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 Joseph S. Nye Jr เป็นผู้บัญญัติคำนี้ขึ้น ในหนังสือ Bound to lead ซึ่งได้แนวคิดมาปรัชญาโบราณ การชนะสงครามโดยไม่ต้องรบ คือ อำนาจที่แท้จริง หลังจากนั้น soft power ได้แพร่หลายจนเป็นที่สนใจทั่วโลก มีการพฒนาแนวคิดจาก soft power เป็น smart power ซึ่งหลายประเทศสานใจในแนวคิดนี้ รวมทั้งจีนที่ให้ความสำคัญโดยจัดทำนโยบายทางการทูต เพื่อพัฒนาภาพพจน์ที่ดีงามของประเทศอย่างเป็นมิตรและยั่งยืน เช่น นโยบาย Cool Japan, Panda diplomacy เป็นต้น ปัจจุบันมีสำนักวิเคราะห์นานาชาติหลายแห่ง อธิ Monocle (Soft Power Survey) The Elcano Global Presence Report Lowly Institute : Asia Power Index. Brand Finance Global Soft Power Index Portland Communication and Facebook 2013 The Soft Power 30 Report โดยแต่ละสำนักทำการสำรวจเพื่อจัดทำ soft power index และ global soft power report ซึ่งมีรายละเอียดตัวชี้วัดย่อยที่แต่ต่างกัน การจัดอันดับ soft power ประเทศต่าง ๆ เป็นการจัดอันดับแบรนดิ้งของประเทศ วัดจาก 1. การดึงดูดใจผ่านการดูภาพยนตร์จากคนทั่วโลก 2.การดึงดูดใจที่อยากให้คนเดินทางไปเที่ยว 3.ดึงดูดใจต้องมาเรียนต่อ 4.ดึงดูดหลงไหลใฝ่ฝันจนย้ายไปอาศัยอยู่ ต่อมา มีการเพิ่มตัวชี้วัดใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ การตลาด การลงทุน เสน่ห์ทางวัฒนธรรม มรดกทางวัฒนธรรม คุณภาพการศึกษา การเมืองการปกครองที่มีระบบที่เป็นธรรม การสื่อสาร ตลอดจนระบบการทูต การค้าดิจิตัล ตลอดจนจริยธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
การจัดอันดับ soft power มีการดำเนินการมากว่า 10 ปี แล้ว ซึ่งที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา ครองอันดับ 1 ตามด้วยอังกฤษ และประเทศแถบยุโรป แต่ระยะหลัง จีน ได้ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ล้ำหน้ายุโรปและเอเชียที่ลงทุนในด้านนี้มาก่อนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้จีนเป็นที่นจับตาและสนใจจากทั่วโลก ใน ปี 2524 soft power มีการแปลงและจืดจางไป การใช้อำนาจ hard power จากสงคราม การใช้กำลังทหาร การบีบค้นทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม soft power ควรคำนึงถึงการรู้เท่ากัน เข้าใจมิติต่าง ๆ ความภูมิใจในเสน่ห์ของเราเองในสภาวะที่อยู่ท่ามกลางความแปรปรวนโดยใช้สติอย่างมั่นคง

ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่นวัตกรรมนำพลเป็นซอฟพาวเวอร์ ไว้ว่า ซอฟต์พาวเวอร์ เสน่ห์ดึงดูดสร้างพลังมิติทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ คุณภาพการศึกษาที่ดีต้องมุ่งเน้นการพัฒนาต้นทุนมนุษย์ที่เป็นผลสำเร็จจากการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ กล่าวคือ นักเรียนในทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็น นักเรียนประถมฯ นักเรียนมัธยมฯ นักศึกษา หรือคนที่อยู่ในวัยกำลังเติบโต ต้องมีการเรียนรู้แบบ การศึกษาเชิงรุก (active learning) มีการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทำจริง มีการฝึกฝน เรียนรู้การตั้งคำถาม เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ซึ่งได้องค์ความรู้เป็นผลผลิต อีกทั้งรู้จักทำงานเป็นทีม รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็น Teamwork โดยมีครูเป็นโค้ช เป็นที่ปรึกษาในการเรียนรู้ เพื่อการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างนวัตกรรมนำพลและเพื่อการจัดการศึกษาเพื่อนวัตกรรม 5.0 ต่อไป