กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ สภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 38 แห่ง ลงนามความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม (MOU)

วันที่ 11 กุมภาพันธ์  2567 เวลา  09.30 น. นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ลงนามความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม (MOU) ร่วมกับ สภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ทั้ง 38 แห่ง  เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม สนับสนุนพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประสานความร่วมมือในมิติขององค์ความรู้ บุคลากร งบประมาณ และสิ่งสนับสนุนอื่น ๆ ในการดำเนินงานด้านวิชาการ วิจัย และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

และเยี่ยมชมชมนิทรรศการ อาหารพื้นบ้าน 4 ภาค “โม โฮบบาย จุมคะเนีย”  โอกาสนี้ อธิบดี สวธ.ร่วมเสวนา เรื่อง “การยกระดับ Soft power อาหารพื้นบ้าน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และ เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ร่วมกับตัวแทน เครือข่ายสภาศิลปะ  เพื่อขับเคลื่อนการนำอาหารพื้นบ้านของไทยมายกระดับช่วยสร้างเสริมสุขภาพ และสร้างมูลค่าในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เป็นการสร้างกระแสให้ประชาชนหัน มาใส่ใจการรับประทานอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักรู้ว่าอาหาร พื้นบ้านไทย มีคุณค่า เป็นการผสม “ศาสตร์” การดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาทางอาหาร กับ “ศิลป์” ความ พิถีพิถัน ความละเอียดอ่อนในการปรุงอาหาร ที่ช่วยสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับอาหารไทย

จากนั้นเวลา 19.00 น. นายโกวิท ผกามาศ  อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดเเละชมการเเสดงงานเทศกาลวัฒนธรรมนานาชาติประเทศไทย ครั้งที่ 2  (The 2 nd Thailand Cultural Exchange Festival: 2 nd Thailand-CEF) โดย ผศ.ดร.ฉลอง สุขทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กล่าวรายงาน ณ สวนสาธารณะ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (สวนใหม่) จังหวัดสุรินทร์ เรียกว่าเป็นการรวมพลังความเข้มเเข็งของชาวจังหวัดสุรินทร์  ในการอนุรักษ์ รักษา สืบทอด ส่งต่อศิลปวัฒนธรรมเเละภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เเละเผยเเพร่สู่ระดับสากล สร้างทักษะประสบการณ์อันดีในการเเลกเปลี่ยนภาษาเเละวัฒนธรรมของเด็กเยาวชน เเละประชาชน ร่วมเเสดงศิลปวัฒนธรรมของไทย เพื่อเป็นการขับเคลื่อน Soft Power ให้เเพร่หลายด้วยคุณค่าเเละมูลค่าทางเศษฐกิจ  เชื่อมโยงการทำงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ

โดยมีคณะนักเเสดงนานาชาติจาก 11 ประเทศ เข้าร่วม ประกอบด้วย ประเทศจีน โปเเลนด์ กัมพูชา รัสเซีย เกาหลีใต้ อิสราเอล อินเดีย อิตาลี ลาว เม็กซิโก และไทย  ระหว่างวันที่ 5-14 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สถานที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์ โดยได้รับความร่วมมือเเละการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์  พิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติสุรินทร์ สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานพานิชย์จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ การท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย  สำนักงานจังหวัดสุรินทร์เเละสมาคมส่งเสริมท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น