สภาพอากาศวันนี้ :มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : วันที่ 12 – 15 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะแรก
สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 72% ของความจุเก็บกัก (59,561 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 61% (35,348 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคเหนือ จำแนกเป็น 1) ด้านอุปโภค-บริโภค ในเขต กปภ. 13 จังหวัด และนอกเขต กปภ. 33 จังหวัด 2) ด้านการเกษตร นาปรัง 13 จังหวัด และพืช-ไม้ผล 22 จังหวัด 3) ด้านคุณภาพน้ำ ในเขต กปภ. 7 จังหวัด และนอกเขต กปภ. 3 จังหวัด
แผนและผลการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ม.ค. 67)
แผนการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง 6.37 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 7.88 ล้านไร่ (124%) ซึ่งเกินกว่าแผนการเพาะปลูก จำแนกได้ดังนี้ 1)แผนปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ 5.80 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 7.44 ล้านไร่ (128%) 2) แผนการเพาะปลูกพืชไร่ – พืชผักทั้งประเทศ 0.57 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว
วันที่ 17 มกราคม 2567 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการจัดทำแผนที่คาดการณ์ปริมาณฝนตลอดปี 2567 (One Map) เพื่อใช้เป็นข้อมูลจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำสำหรับหน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ ซึ่งจากการประเมินของกรมอุตุนิยมวิทยาร่วมกับ สสน. พบว่า ช่วง 6 เดือนแรก จะมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ และปีนี้ฝนจะมาล่าช้ากว่าทุกปี ขณะที่ช่วง 6 เดือนหลัง จะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ และอาจมีพายุเกิดขึ้นบ่อยกว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น การจัดทำแผนที่คาดการณ์ปริมาณฝนเพื่อบริหารจัดการน้ำตลอดปี 2567 จึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบและสมดุลเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
ทั้งนี้ สทนช. กำชับให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตาม 9 มาตรการรองรับฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด รวมถึงเน้นย้ำให้กรมชลประทานเตรียมปรับแผนการจัดสรรน้ำเสนอ กนช. พิจารณา เนื่องจากมีผลการจัดสรรน้ำซึ่งเกินกว่าที่แผนจัดสรรน้ำกำหนดไว้
กรมชลประทาน ดำเนินการเร่งซ่อมแซมฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิง ในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เพื่อสามารถรับน้ำจากเขื่อนภูมิพล รวมทั้งส่งน้ำช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ดังนี้ ฝายวังบัว และฝายท่อทองแดง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ฝายหนองขวัญ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานซ่อมแซ่ม ฝายวังยาง อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร อยู่ระหว่างขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อซ่อมแซม
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังความเค็มในการผลิตน้ำประปา