สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 พ.ย. 66 เวลา 7.00 น.

สภาพอากาศวันนี้: ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีหมอกในตอนเช้า และลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้

คาดการณ์: ในช่วงวันที่ 8 – 10 พ.ย. 66 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 5.พ.ย. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 4,498 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
 ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,841 ล้าน ลบ.ม. (78%)
 ปริมาณน้ำใช้การ 39,672 ล้าน ลบ.ม. (68%)

เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 11 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดน และบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : หนองหาร อุบลรัตน์ และลำปาว ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 2 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออก : คลองสียัด โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2) ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่

น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน –ไม่พบพื้นที่เสี่ยง-

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 จังหวัด (กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี) รวม 10 อำเภอ 19 ตำบล 40 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 279 ครัวเรือน ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ร่วมประชุมเพื่อบูรณาการหน่วยงานด้านทรัพยากรน้ำตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ (กพต.) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดภาคใต้ (ศอ.บต.) บูรณาการทบทวนงานด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่รับผิดชอบของ ศอ.บต. จึงได้มีการประชุมร่วมกับ กรมชลประทาน

กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมเจ้าท่า การประปาส่วนภูมิภาค องค์การจัดการน้ำเสีย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมควบคุมมลพิษ พร้อมนำเสนอแผ่นงานโครงกรระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อขับเคลื่อนแผนงานโครงการด้านการบริหารทรัพยากรน้ำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำอย่างมั่นคง และยั่งยืนต่อไป โดยที่ประชุมได้รับทราบแผนงานโครงการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปรายละเอียดแผนงานโครงการโดยระบุปีที่ดำเนินการ ตัวชี้วัดให้ชัดเจนและสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี พร้อมทั้งจัดส่งข้อมูลรายละเอียดแผนงานโครงการให้ฝ่ายเลขานุการ ภายในวันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เพื่อจัดทำเป็นแผนการพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำเสนอ ศอ.บต. ต่อไป

มาตรการและการช่วยเหลือ
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดเจ้าหน้าที่ชุดขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ช.พัฒนา เข้าดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ที่อยู่รอบบริเวณพื้นที่ บ้านหนองหญ้าปล้องที่ได้รับความเดือดร้อนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร และทำการเทฐานเพื่อวางถังน้ำ PE พร้อมติดตั้งระบบ ณ บ้านหนองหญ้าปล้อง ต.จระเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี