สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.อุดรธานี (226) จ.นครสวรรค์ (183) จ.ตราด (181) จ.พังงา (74) จ.กาญจนบุรี (54) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (45)

ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 47,676 ล้าน ลบ.ม. (58%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 42,707 ล้าน ลบ.ม. (60%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

จังหวัดเพชรบูรณ์ สั่งการให้การประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่ อ.บึงสามพัน อ.วิเชียรบุรี และ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ สูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักหรือแหล่งน้ำอื่นๆ และจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม ให้ประชาชนมีน้ำใช้อุปโภค-บริโภคตลอดจนถึงฤดูแล้ง 2567 โดยการประปาส่วนภูมิภาคสาขาหนองไผ่ และการประปาส่วนภูมิภาคสาขาวิเชียรบุรี ได้รับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากการประปาส่วนภูมิภาคเขต 10 นครสวรรค์ จำนวน 7 เครื่อง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บให้สระน้ำดิบเต็มความจุภายในเดือน ก.ย. 66

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศ ฉบับที่ 18/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กอนช. ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมจะเลื่อนมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนัก โดยเฉพาะด้านตะวันตกของภาคเหนือ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ในช่วงวันที่ 17 – 21 ก.ย. 66 ดังนี้

• พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ในบริเวณภาคเหนือ จ.เชียงราย (อ.เทิง) จ.พะเยา (อ.เมืองพะเยา) จ.เชียงใหม่ (อ.อมก๋อย ฝาง และแม่อาย) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองแม่ฮ่องสอน) จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง อุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ) จ.น่าน (อ.เมืองน่าน แม่จริม ปัว เฉลิมพระเกียรติ บ่อเกลือ ทุ่งช้าง ท่าวังผา เวียงสา และสองแคว) จ.พิษณุโลก (อ.นครไทย) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก และหล่มเก่า) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.เมืองเลย วังสะพุง และภูหลวง) จ.ชัยภูมิ (อ.หนองบัวแดง) จ.อุดรธานี (อ.เมืองอุดรธานี บ้านดุง กุมภวาปี นายูง และหนองหาน) จ.กาฬสินธุ์ (อ.เมืองกาฬสินธุ์ กุฉินารายณ์ สมเด็จ นามน ดอนจาน สามชัย และคำม่วง) จ.ร้อยเอ็ด (อ.เสลภูมิ) จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองอุบลราชธานี) ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี มะขาม ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ ขลุง โป่งน้ำร้อน และแก่งหางแมว) จ.ตราด (อ.เมืองตราด เขาสมิง แหลมงอบ บ่อไร่ เกาะช้าง และเกาะกูด)

• พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา จ.น่าน ลำน้ำแควน้อย จ.พิษณุโลก ลำน้ำก่ำ จ.นครพนม ลำเซบาย จ.ยโสธร ลำปาว อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ลำน้ำยัง อ.โพนทอง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
กอนช. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ พื้นที่ฝนตกสะสมมากกว่า 90 มม. ในช่วง 24 ชั่วโมง หรือพื้นที่ชุมชนที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน
2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที