ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.พะเยา (108) จ.สตูล (94) จ.ตราด (76) จ.กาญจนบุรี (72) จ.บึงกาฬ (45) กรุงเทพมหานคร (23)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 46,949 ล้าน ลบ.ม. (57%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 42,037 ล้าน ลบ.ม. (59%)
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปางและตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย ยโสธร อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และบึงกาฬ ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี
หน่วยบัญชาการทหาพัฒนา จัดชุดบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 3 นาย พร้อมรถยนต์ตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน ดำเนินการสำรวจ และติดตามระดับน้ำในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมของ แม่น้ำปิง บริเวณท่าน้ำวัดอินทาราม เนื่องจากฝนตกหนัก เพื่อประเมินสถานการณ์ปริมาณน้ำในลำน้ำแม่ปิง เพื่อเตรียมความพร้อมในการแจ้งเตือนภัย และเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันเหตุการณ์ อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยง และความเสียหายทรัพย์สินของประชาชน บริเวณท่าน้ำวัดอินทาราม ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
กอนช. ชี้น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่ม แต่ยังมีน้ำน้อยกว่าปีที่แล้ว ย้ำเกษตรกรงดทำนาปีต่อเนื่อง และประชาชนต้องร่วมมือใช้น้ำอย่างประหยัด
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกมากในพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคเหนือบางส่วน ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในบางพื้นที่โดยปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายกลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้น จ.ร้อยเอ็ด ที่คาดว่าระดับน้ำในลำน้ำยัง จะกลับสู่ระดับตลิ่งภายใน 7 วันนี้
จากปริมาณฝนตกส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพิ่มขึ้นแต่ยังคงน้อยกว่าปริมาณน้ำในปีที่แล้ว และขณะนี้ประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้สภาวะเอลนีโญ ส่งผลให้ปริมาณฝนตกน้อย โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ กอนช. มีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญของการใช้น้ำ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้เกษตกรงดทำนาปีต่อเนื่อง และขอความร่วมมือประชาชนในการใช้น้ำอย่างประหยัด
ในช่วงวันที่ 13 – 14 ก.ย. 66 จะมีฝนตกมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก วันที่ 15 ก.ย. 66 จะมีฝนตกมากในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก และวันที่ 16 – 18 ก.ย. 66 ปริมาณฝนจะลดลงตามลำดับ โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลฝนเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 3 วันล่วงหน้า ขณะนี้ยังไม่พบว่าอยู่ในระดับที่จะเกิดผลกระทบต่อประชาชน
สทนช. ได้เร่งเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปัจจุบันใกล้สิ้นสุดฤดูฝนแล้ว โดยประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูแล้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พ.ย. 66 โดยได้มีการเตรียมมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำรองรับสถานการณ์ฝนตกน้อยจากสภาวะเอลนีโญได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด