ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.อุตรดิตถ์ (182) จ.อุบลราชธานี (177) จ.ลพบุรี (95) จ.ตราด (81) จ.ตรัง (77) จ.กาญจนบุรี (54)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 45,944 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 41,170 ล้าน ลบ.ม. (58%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง แพร่ น่าน พะยา อุตรดิตถ์ พิษณุโลก อุทัยธานี และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.บึงกาฬ ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง และพังงา
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินก่อสร้างโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในพื้นที่ 1.) บ.โนนศรีสวัสดิ์ ม.4 ต.สามัคคี อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ 2.) บ.โคกสำราญ ม.2 ต.สามัคคี อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ 3.) บ.พุทธรักษา ม.4 ต.เขาพระนอน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 4.) บ.สว่าง ม.4 ต.ห้วยเตย อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น 5.) บ.โคกสูง ม.3 ต.กระนวน อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น 6.) บ.วังทอง ม.7 ต.ห้วยเตย อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม 7.) บ.ขามป้อม ม.1 ต.นาข่า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
กอนช. ติดตามการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
วันที่ 9 กันยายน 2566กรมชลประทาน ลงพื้นที่เมืองบัวแดง นำเสนอแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแควใหญ่ เพื่อติดตามโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่บึงบอระเพ็ด บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ มีความหลากหลายทางด้านชีวภาพทั้งพืชและสัตว์นานาชนิด ซึ่งที่ผ่านมา ได้ประสบปัญหาด้านการบุกรุกพื้นที่ ปัญหาการตื้นเขินของบึงจากการสะสมของตะกอนดินและปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จึงได้วางแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด ดังนี้
แผนที่ 1. การบริหารจัดการ / การเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน
แผนที่ 2. การแก้ไขปัญหาภัยแล้งและสร้างความมั่นคงของน้ำ
แผนที่ 3. คุณภาพน้ำ ตะกอน และรักษาระบบนิเวศ
แผนที่ 4. การจัดการน้ำท่วมและบรรเทาอุทกภัย
ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 5 โครงการ และโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ อาทิ
1) โครงการขุดลอกตะกอนดิน บึงบอระเพ็ด
2) โครงการขุดคลองดักตะกอน ตามแนวขอบบึงบอระเพ็ด
3) โครงการขุดบึงบอระเพ็ด Deep Pool
หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำได้ประมาณ 21 ล้าน ลบ.ม. ทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำของแก้มลิง เพื่อสำรองไว้ใช้ได้ในอนาคตได้อีกด้วย