ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออก มีฝนตกหนักมากบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นครราชสีมา (114) จ.ตราด (106) จ.น่าน (101) จ.พังงา (88) กรุงเทพมหานคร (77) และ จ.กาญจนบุรี (44)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 45,730 ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,985 ล้าน ลบ.ม. (57%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนห้วยบ้านไปเติมให้กับแหล่งน้ำผลิตระบบประปาหนองสาธารณ ต.นาผือ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ สูบน้ำได้ 7,200 ลูกบาศก์เมตร โดยมีประชาชนได้รับประโยชน์ 2 หมู่บ้าน 375 หลังคาเรือน 1,250 คน ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 17/2566 ในช่วงวันที่ 5-10 ก.ย. 66 บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก แพร่ น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ มุกดาหาร นครพนม และนครราชสีมา ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ภาคกลาง จ.อุทัยธานี และกาญจนบุรี ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช ระนอง และภูเก็ต และเฝ้าพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา จ.น่าน
สทนช. ประชุมร่วมกับ IWHR แลกเปลี่ยนประสบการณ์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ไทย-จีน
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประชุมหารือกับสถาบัน China Institute of Water Resources and Hydropower Reserach (IWHR) ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 66 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
ทั้งนี้ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. และคณะ ได้เยี่ยมชมศูนย์วิจัยของภาคระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมด้านน้ำที่ดำเนินงานวิจัยโดยมุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาของน้ำเพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงศึกษาดูงานโครงการผันน้ำ Tuancheng Lake regulating reservoir of the South to North Water Diversion Project เป็นโครงการผันน้ำจากใต้สู่เหนือที่สำคัญในการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในทางเหนือของจีน โครงการดังกล่าววางแผนเส้นทางการผันน้ำ 3 สายในบริเวณตอนล่าง ตอนกลาง และตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง เส้นทางผันน้ำทั้งสามสายนี้เชื่อมโยงถึงแม่น้ำแยงซี แม่น้ำเหอ แม่น้ำเหลือง และแม่น้ำไห่เหอ โดยผลลัพธ์จากการเข้าร่วมประชุมและศึกษาดูงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของจีนไปปรับใช้อย่างเหมาะสมภายใต้บริบทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย รวมถึงการสานสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานด้านน้ำของประเทศไทยและจีนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต