สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 สค. 66 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.นครราชสีมา (116) จ.พะเยา (111) จ.ระยอง (65) จ.พังงา (55) จ.กาญจนบุรี (43) จ.พระนครศรีอยุธยา (15)

ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,863 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,462 ล้าน ลบ.ม. (55%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร (28 ส.ค. 66) มีปฏิบัติการฝนหลวง ทำให้มีฝนตกเล็กน้อยในหลายพื้นที่ บริเวณ จ.นครสวรรค์ (ท่าตะโก ไพศาลี หนองบัว) จ.เพชรบูรณ์ (วิเชียรบุรี) จ.สุรินทร์ (ท่าตูม) จ.มหาสารคาม (เมืองมหาสารคาม บรบือ โกสุมพิสัย แกดำ วาปีปทุม) จ.ร้อยเอ็ด (จตุรพักตรพิมาน) และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.เพชรบูรณ์

กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 29 ส.ค.-3 ก.ย. 66 บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น สกลนคร มหาสารคาม หนองบัวลำภู และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต และเฝ้าพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ แม่น้ำยัง บริเวณอ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และ แม่น้ำสงคราม บริเวณอ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ถึง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

กอนช. ติดตาม แผนการฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินอย่างเป็นระบบ
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 66 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ร่วมกับ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรธรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ได้ร่วมประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนแผนการฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และการป้องกันการชะล้างการพังทลายของดินอย่างเป็นระบบ ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. เป็นประธานในการประชุม ณ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) หาแนวทางการขับเคลื่อนค่าเป้าหมายการฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี
2) กำหนดพื้นที่นำร่องเพื่อดำเนินโครงการ “โครงการนำร่องการบูรณาการการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และป้องกันการชะล้างพังทลายของดินอย่างเป็นระบบ พื้นที่ลุ่มน้ำ……….

โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบต่อแนวทางการขับเคลื่อน โดยทำ MOU และ MOA ร่วม 5 หน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินงานรวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณผ่านระบบ Thai Water Plan (TWP) ได้ทันที ทั้งนี้ การจัดทำโครงการแบบบบูรณาการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลาดชัน สอดคล้องกับเป้าหมายการอนุรักษ์ระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ ตามแผนแม่บทฯ น้ำ 20 ปี น้ำ การอนุรักษ์และฟื้นฟูต้นน้ำ รวมถึงการบริหารจัดการที่เหมาะสมในอนาคตต่อไปป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญในระยะยาวต่อไป