สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 ส.ค. 66 เวลา 7.00 น.

– ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

– ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.พิษณุโลก (120) กรุงเทพมหานคร (103) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (73) จ.ตราด (71) จ.อุบลราชธานี (70) จ.ระนอง (45)

– ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,020 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,324 ล้าน ลบ.ม. (55%)

– คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

– กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 15/2566 ในช่วงวันที่ 20-25 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย
บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล ตรัง และสุราษฎร์ธานี

– หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดชุดบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 12 นาย รถขุดตัก จำนวน 1 คัน และ รยบ.เทท้าย 10 ล้อ จำนวน 2 คัน ร่วมกับ กรมชลประทาน อบต.พระธาตุผาแดง และผู้นำชุมชน ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาถนนทรุดตัว ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ทำให้เกิดดินสไลด์ทับท่อระบายน้ำ ได้ทำการติดตั้งแบบ เทลีนท่อระบายน้ำ พร้อมวางท่อระบายน้ำ จำนวน 15 ท่อน ทั้ง 2 ฝั่งถนน ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บริเวณเส้นทาง บ.หนองบัว – บ.หัวฝาย อ.แม่สอด จ.ตาก

– กอนช. ติดตามหน่วยงานลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำพื้นที่อีสานตอนบน พร้อมรับมือฝนปี 66 ตาม 12 มาตรการ กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำประตูระบายน้ำห้วยหลวง และสถานีสูบน้ำบ้านแดนเมือง จังหวัดหนองคาย

ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำห้วยหลวง ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมแผนการรับมืออันอาจเกิดจากอุทกภัย 2566 โดยได้ดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบควบคุมการ เปิด-ปิด บานระบาย การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงได้รับการสนับสนุนเครื่องจักร เครื่องมือจากส่วนเครื่องจักรกลที่ 3 สำนักเครื่องจักรกล และส่วนเครื่องจักรกล สำนักงานชลประทานที่ 5 เป็นต้น

โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำบ้านแดนเมือง โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย มีโครงข่ายระบบชลประทาน จำนวน 13 โครงข่าย ครอบคลุมพื้นที่ 315,195 ไร่ รวมทั้งแก้มลิงและอาคารประกอบ จำนวน 20 แห่ง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการ ซึ่งหากก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ บรรเทาอุทกภัยในเขตจังหวัดหนองคายและอุดรธานี ส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานเดิม 15,000 ไร่ และเพิ่มพื้นที่ชลประทานใหม่อีก 300,195 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 284 หมู่บ้าน 37 ตำบล 7 อำเภอ ของจังหวัดหนองคายและจังหวัดอุดรธานี โดยมีครัวเรือนที่ได้รับผลประโยชน์ 29,835 ครัวเรือน ทั้งยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อขยายพื้นที่ชลประทานในพื้นที่ใกล้เคียง