สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 ส.ค. 66 เวลา 7.00 น.

ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.ตราด (94) จ.สตูล (90) จ.นครราชสีมา (46) จ.กาญจนบุรี (43) จ.เชียงราย (40) และ จ.สุพรรณบุรี (22)

ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,022 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,315 ล้าน ลบ.ม. (55%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 15/2566 ในช่วงวันที่ 20-25 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล ตรัง และสุราษฎร์ธานี

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการน้ำบาดาลเพื่อประชาชน โดยประชาชนมีส่วนร่วม (CSR) ในพื้นที่ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน มีแหล่งน้ำที่มีความมั่นคง สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาลได้อย่างคุ้มค่า

สทนช. ลงพื้นที่ติดตามการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน แก้ปัญหาท่วม-แล้งอย่างเป็นระบบ
นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ติดตามการก่อสร้างประตูระบายน้ำโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร โดยกรมชลประทานได้จัดทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนล่างในพื้นที่ จ.พิษณุโลก และ จ.พิจิตร โดยการก่อสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำยม 4 แห่ง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ในลำน้ำ เพื่อใช้ในการเพาะปลูก อุปโภคบริโภค บรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย ได้แก่ ประตูระบายน้ำท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ประตูระบายน้ำท่าแห อ.สามง่าม จ.พิจิตร ประตูระบายน้ำบ้านวังจิก และประตูระบายน้ำโพธิ์ประทับช้าง อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
นอกจากนี้ ได้ติดตามความก้าวหน้าแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด 6 ด้าน เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ประมาณ 67 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) มีพื้นที่รับประโยชน์ 85,000 ไร่ ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ได้ โดยการรับน้ำหลากจากแม่น้ำน่าน ลดความเสียหายจากน้ำท่วมได้มากถึง 21,000 ไร่

ทั้งนี้ สทนช. ได้เสนอแนะให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ป้องกันการพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ หรือกีดขวางการไหลของน้ำ เว้นแต่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่กำหนดไว้เป็นเขตชุมชน เขตอุตสาหกรรม และเขตพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมตามผังเมืองรวม