ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.พังงา (96) จ.นครราชสีมา (50) จ.เพชรบูรณ์ (49) จ.นครนายก (47) จ.สระบุรี (44) จ.กาญจนบุรี (26)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,598 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,879 ล้าน ลบ.ม. (54%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมะเกลือ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 30 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ณ บ้านมะเกลือ หมู่ที่ 4 ต.บ้านมะเกลือ อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ โดยสูบน้ำจากแม่น้ำปิงเข้าคลองยายหมอนเข้าสู่คลองส่งน้ำผ่านพื้นที่การเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ พื้นที่นาข้าว ไร่อ้อย มันสำปะหลัง สวนกล้วย ข้าวโพด ฝรั่ง มะนาว มะลิ มะเขือ ผักชี หอม จำนวน 4,310 ไร่ โดยมีประชาชนได้รับประโยชน์ 5 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ 3,4,5,11และ12 จำนวน 560 ครัวเรือน 3,000 คน โดยเริ่มสูบน้ำตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 66
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง ฉบับที่ 13/2566 ในช่วงวันที่ 10 – 15 ส.ค. 66 โดย กอนช.ได้คาดการณ์ระดับน้ำจะมีแนวโน้มล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 11-15 ส.ค. 66 ณ สถานีนครพนม จ.นครพนม ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขงเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ดังกล่าว
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 14/2566 ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง
สทนช. ได้จัดการประชุมแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในเขตพื้นที่ จ.นครสวรรค์
เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 66 สทนช. ได้จัดการประชุมหารือกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในเขตพื้นที่ อ.ไพศาลี และท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ณ ห้องประชุมโครงการ ชลประทานนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ โดยมี สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครสวรรค์ โครงการชลประทานนครสวรรค์ กรมทรัพยากรน้ำ เข้าร่วมการประชุมเพื่อร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยสรุปได้ ดังนี้
1. ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและส่งน้ำดิบผ่านระบบท่อ ข้อดี ได้ปริมาณน้ำเพียงพอ และใช้เวลาดำเนินการน้อย ข้อเสีย ต้องประชาคมสร้างการรับรู้
2. ส่งโดยรถขนส่งน้ำประปาหรือน้ำดิบไประบบประปาหมู่บ้าน ข้อดี ได้น้ำประปามาใช้โดยตรง และลดผลกระทบ 2 ตำบล ข้อเสีย มีค่าใช้จ่ายสูง
3. เชื่อมต่อท่อจ่ายน้ำหลัก กปภ.ไพศาลี ไปลงถังน้ำใสประปาโดยตรง ข้อดี ได้น้ำประปาใช้โดยตรง ข้อเสีย อาจมีค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำ จาก กปภ.
ซึ่งทั้ง 3 แนวทางดังกล่าวจะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่ดีที่สุด และจะจัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในเขตพื้นที่ต่อไป