ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.นครพนม (48) จ.ตรัง (40) จ.นครสวรรค์ (35) จ.ตราด (26) กรุงเทพมหานคร (24) จ.กาญจนบุรี (17)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,440 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,713 ล้าน ลบ.ม. (54%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์เปลี่ยนท่อที่เกิดจากการชำรุด ตรวจเช็ค ซ่อม เปลี่ยนอุปกรณ์ระบบ
ตู้คอนโทรล บำรุงรักษาและปรับปรุงคุณภาพน้ำในระบบประปาบาดาลให้สามารถอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ พร้อมแนะนะวิธีการใช้งานระบบประปาบาดาล ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ณ บ้านหนองโคกสามัคคี หมู่ที่ 18 ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง ฉบับที่ 13/2566 ในช่วงวันที่ 10 – 15 ส.ค. 66 โดย กอนช.ได้คาดการณ์ระดับน้ำจะมีแนวโน้มล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 11-15 ส.ค. 66 ณ สถานีนครพนม จ.นครพนม ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขงเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ดังกล่าว
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 14/2566 ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง
สทนช.ประสานประเทศสมาชิกน้ำโขงผ่าน MRCS ช่วยบริหารน้ำเพื่อควบคุมระดับแม่น้ำโขง
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. ในฐานะรองผู้อำนวยการ กอนช. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนที่ตกหนักสะสมในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ทำให้ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 10 – 15 ส.ค. 66 ตามประกาศ ฉบับที่ 13/2566 เรื่อง เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง เพื่อแจ้งเตือนประชาชน 8 จังหวัดริมน้ำโขง โดยมีการประสานข้อมูลการคาดการณ์สถานการณ์น้ำฝนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) มาอย่างต่อเนื่อง
สทนช.ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยได้ประสานไปยัง MRCS ให้ติดตามสถานการณ์น้ำโขงอย่างใกล้ชิด และแจ้งให้ประเทศสมาชิกรับทราบต่อเนื่อง เพื่อเตรียมการป้องกันและรับมือหากเกิดสถานการณ์อุทกภัย รวมถึงขอความร่วมมือ MRCS ประสานกับ สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ช่วยบริหารน้ำจากเขื่อนต่าง ๆ ที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุทกภัยจากสาเหตุระดับน้ำโขงสูงจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับสถานการณ์น้ำโขงในสถานีต่างๆ ปัจจุบัน พบว่า ยังต่ำกว่าระดับตลิ่ง และได้ติดตามสถานการณ์น้ำโขงอย่างใกล้ชิดเพื่อประสานแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนที่อาจะได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ