– ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน (120) จ.บึงกาฬ (106) จ.ตรัง (91) จ.ตราด (36) จ.กาญจนบุรี (27) และ กรุงเทพมหานคร (10)
– ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,225 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,606 ล้าน ลบ.ม. (51%)
– คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
– กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 12/2566 ในช่วงวันที่ 28 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 ดังนี้
- ภาคเหนือ จ.ตาก และอุทัยธานี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
– หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดชุดบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 4 นาย พร้อมรถยนต์ตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน เข้าติดตามและประเมินสถานการณ์ปริมาณน้ำในแม่น้ำกก สะพาน และประตูระบายน้ำ สถานการณ์ปกติ เพื่อเป็นข้อมูลในการแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และสามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ ณ พื้นที่ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
– กอนช. ติดตามหน่วยงานดำเนินการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ EEC และจ.พะเยา
– กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง ให้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ Hydro flow ขนาด 42 นิ้ว จำนวน 3 เครื่อง บริเวณปากคลองผันน้ำเชื่อมอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง เพื่อเร่งการผันน้ำจากอ่างฯ คลองใหญ่ ไปเติมอ่างฯ หนองปลาไหล เพื่อกระจายน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC นั้น กรมชลประทาน ร่วมวางแผนและเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้วเสร็จจำนวน 1 เครื่อง พร้อมเดินเครื่องผันน้ำแล้ว โดยสามารถสูบน้ำได้ในอัตรา 3.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ช่วยเร่งผันน้ำไปยังอ่างฯ หนองปลาไหลได้เร็วยิ่งขึ้น คาดว่าจะสามารถเร่งติดตั้งอีกจำนวน 2 เครื่อง ได้แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 ส.ค.66 ที่ผ่านมา
– กรมเจ้าท่า ขุดลอกแม่น้ำลาว ต.แม่ลาว อ.เชียงคำ จ.พะเยา ระยะทาง 2,475 ม. ปริมาณวัสดุขุดลอก 43,240 ลูกบาศก์เมตร ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการขุดลอก เพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 300 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 5,000 ไร่