สถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2566

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ดังนี้

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 12/2566 ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ จังหวัดตาก (อำเภออุ้มผาง) จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเกษตรสมบูรณ์) จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน และศรีสงคราม) จังหวัดสกลนคร (อำเภอโคกศรีสุพรรณ) จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอนางรอง) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอชุมพลบุรี) จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอภูสิงห์ ขุขันธ์ ขุนหาญ และปรางค์กู่) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอบุณฑริก) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดชลบุรี (อำเภอบ่อทอง) จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง มะขาม เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ โป่งน้ำร้อน แก่งหางแมว และนายายอาม) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง แหลมงอบ และเขาสมิง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอบ้านตาขุน และพนม) จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอช้างกลาง)

2. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมเจ้าท่า ปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ โดยคาดว่าหลังการขุดลอก จะเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 600 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 800 ไร่

3. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สทนช. ได้ดำเนินการจัดประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 1 โครงการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ระหว่างวันที่ 22 – 23 กรกฎาคม 2566 จำนวน 2 เวที ได้แก่ เวทีที่ 1 จังหวัดยะลา และเวทีที่ 2 จังหวัดนราธิวาส เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ ในการจัดทำผังน้ำให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำผังน้ำ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อ (ร่าง) ผังน้ำ ครั้งที่ 1 เข้าร่วมการประชุม พร้อมด้วยผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการลุ่มน้ำ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนในพื้นที่ โดยจังหวัดยะลา มีผู้เข้าร่วม รวม 117 ท่าน และ จังหวัดนราธิวาส มีผู้เข้าร่วม รวม 115 ท่าน ทั้งนี้ สทนช. และบริษัทที่ปรึกษาจะนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ สภาพปัญหา ข้อห่วงกังวลต่างๆ จากทุกภาคส่วน ไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุง (ร่าง) ผังน้ำให้มีความสมบูรณ์ และจะนำเสนอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะอีกครั้งในการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 2 ต่อไป