สำนักงานชลประทานที่ 1 ต้อนรับเลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน ติดตามผลศึกษา แผนบรรเทาน้ำท่วม/ภัยแล้ง

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ดร.สุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 มอบหมายให้ นายณรงค์ วงศ์จันทร์ทิพย์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 โครงการชลประทานเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายธีรพันธ์ เด็ดขาด หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา นายณัฐพล อภินันทโน หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัดสมบูรณ์ชล และนายธีรวัฒน์ วงค์วิริยะ นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน โครงการชลประทานลำพูน ร่วมให้การต้อนรับ นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการ เพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ตามแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี

โดยนายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. และคณะ เดินทางลงพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า มีขุมเหมืองแร่ถ่านหินเก่าอยู่มาก จากข้อมูลของสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 3 ระบุว่า อำเภอลี้ มีขุมเหมืองแร่ที่ไม่ได้ดำเนินการแล้วจำนวน 11 ขุมเหมือง ประกอบด้วย ตำบลลี้ ตำบลดงดำ และตำบลนาทราย นับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำเดิม เพื่อให้นำกลับมาใช้ประโยชน์เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อสนับสนุนการทำเกษตร โดยกำหนดให้เป็น 1 ใน 6 โครงการเร่งด่วน “โครงการแก้ไขปัญหาการสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตโดยการพัฒนา ขุมเหมือง ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน” เพื่อทำโครงการก่อสร้างปรับปรุงขุมเหมืองและระบบกระจายน้ำพัฒนาขุมเหมือง ตำบลดงดำ 2 แห่ง คาดว่าจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานแก้ปัญหาภัยแล้ง ในการปลูกพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรในจังหวัดลำพูนอีกทางหนึ่ง

ต่อมา เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เดินทางลงพื้นที่โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่ตะมาน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายจิตะพล รอดพลอย ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 1 ให้การต้อนรับและรายงานความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการ และเลขาธิการฯ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ ติดตามความคืบหน้าโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการ เพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) เชียงใหม่-ลำพูน ว่าจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ ที่ประสบปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ จึงได้มีการศึกษาจัดทำแผนหลักบรรเทา อุทกภัยและภัยแล้ง ตามแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โดยได้ดำเนินการศึกษาพื้นที่ Area Based จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ครอบคลุมพื้นที่ 138 ตำบล 19 อำเภอ และพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ Area Based จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ทั้งนี้ จากผลการศึกษา สามารถจัดทำแผนงานหลักของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหมดจำนวน 7,090 โครงการ ที่สามารถแก้ไขปัญหา ทรัพยากรน้ำ 5 ด้าน แบ่งเป็น

1. ด้านการจัดการน้ำอุปโภคบริโภค จ้านวน 1,430 โครงการ

2. ด้านการสร้าง ความมั่นคงของภาคการผลิต จำนวน 3,996 โครงการ

3. ด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย จำนวน 1,219 โครงการ

4. ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ จำนวน 259 โครงการ

5. ด้านการบริหารจัดการ จำนวน 186 โครงการ

อย่างไรก็ตาม หากการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดจะสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ประชาชนมีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 951 ล้าน ลบ.ม. แก้ปัญหา ภัยแล้งครอบคลุมพื้นที่ 3,840,101 ไร่ นอกจากนี้ ยังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ จัดการพื้นที่น้ำท่วม บรรเทาปัญหาอุทกภัยได้ 1,721,775 ไร่ ควบคู่กับการก่อสร้างระบบบ้าบัดน้ำเสีย อนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง ฟื้นฟูป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ลดการชะล้างพังทลายของดิน จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ แผนป้องกันและแก้ไข ภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม พัฒนาระบบตรวจวัดระบบฐานข้อมูล แต่งตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ และมีการติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

เลขาธิการ สทนช.กล่าวด้วยว่า โครงการหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ ต่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำและบรรเทาปัญหาอุทกภัย คือ “โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่ตะมาน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และทางเข้า-ออก หมายเลข 2 ของอุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง-แม่งัด” เนื่องจากเขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีความจุ 263 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ชลประทาน 175,000 ไร่ แต่จากสถิติที่ผ่านมามีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เฉลี่ยเพียงปีละ 202 ล้าน ลบ.ม. ประกอบกับพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความต้องการใช้น้ำสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ทำให้ปัจจุบันเกิดการขาดแคลนน้ำเฉลี่ยปีละประมาณ 137 ล้าน ลบ.ม. และจากการขยายตัวของภาค เกษตรกรรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมและชุมชน และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจะขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้นเป็นปีละประมาณ 173 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการ ยกระดับน้ำเพื่อผันน้ำผ่านเข้าไปยังอุโมงค์แม่งัด-แม่กวง ซึ่งประกอบด้วยประตูระบายน้ำ จำนวน 4 ช่อง ความกว้างช่องละ 10 เมตร ปิดกั้นลำน้้าแม่แตง บริเวณด้านเหนือน้ำของบ้านแม่ตะมาน ในเขตตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างมีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 96.37 หากด้าเนินการแล้วเสร็จจะ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธาราเฉลี่ยปีละ ประมาณ 160 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกช่วงฤดูแล้งของพื้นที่ชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จาก 17,060 ไร่ เป็น 76,129 ไร่ และช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตเทศบาลเมือง นครเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 70