ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักบริเวณ จ.จันทบุรี (73) จ.ชุมพร (71) จ.เชียงใหม่ (48) จ.บึงกาฬ (44) จ.พระนครศรีอยุธยา (17) จ.กาญจนบุรี (15)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,496 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,040 ล้าน ลบ.ม. (50%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช.ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 15 – 20 ก.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ บริเวณ จ.ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง และนราธิวาส
กองบัญชาการกองทัพไทย ดำเนินการขุดสระเก็บน้ำ ให้กับประชาชนและพระสงฆ์ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค – บริโภค และกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรในห้วงฤดูแล้ง ณ วัดเทพนรินทราราม ต.วังสามหมอ อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี และขุดเจาะบ่อบาดาล บ้านเทพนิมิต ต.วังกระทะ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค – บริโภค เร่งด่วน
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในภาวะฝนทิ้งช่วงในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 10 และการประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 โดยสรุปประเด็นได้ ดังนี้
• พื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 10 พื้นที่ชลประทาน 2,514,599 ไร่ พื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 281,188 ไร่ คิดเป็น 100% เนื่องจากเร่งการเพาะปลูก เพื่อหลีกเสี่ยงความเสียหายจากน้ำท่วม
• โครงการชลประทานลพบุรี ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในเขตชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 32 เครื่อง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย พระนครศรีอยุธยา 10 เครื่อง ชัยนาท 7 เครื่อง นครสวรรค์ 3 เครื่อง อ่างทอง 1 เครื่อง และลพบุรี 11 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและบรรเทาสถานการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่การเกษตร
• ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานลพบุรี เพื่อรองรับสถานการณ์ โดยดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และแจ้งเตือนเกษตรกรถึงสถานการณ์ภาวะฝนทิ้งช่วง และการขาดแคลนน้ำที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์เอลนีโญ่ รวมถึงการดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566