กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 9/2566 ลงวันที่ 12 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 15 – 20 ก.ค. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่สาย และแม่จัน) จังหวัดน่าน (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปัว และเชียงกลาง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุนยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และบึงโขงหลง) จังหวัดสกลนคร (อำเภอโคกศรีสุพรรณ) จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอบุณฑริก) ภาคตะวันออก จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง และเกาะกูด) และภาคใต้ จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง สุขสำราญ และกะเปอร์) จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่ เกาะลันตา คลองท่อม เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง ห้วยยอด และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง) จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง ป่าบอน และควนขนุน) จังหวัดนราธิวาส (อำเภอระแงะ)
2. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนมาตรการที่ 7 เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำ ในพื้นที่แม่น้ำท่าจีน ณ วัดโพธิ์ราษฎร์ศรัทธาทำ ต.ไทรงาม อ.บางเลน จ.นครปฐม ร่วมกับหน่วยงานภายใต้ กอนช. และได้ติดตามฝนคาดการณ์ระบบ ONEMAP พบว่า ในช่วงเดือน ส.ค.นี้ จะมีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้น และได้ออกประกาศ กอนช. ฉบับที่ 9/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 15-20 ก.ค. 66 ดังนั้น เพื่อเป็นการรับมือสถานการณ์ดังกล่าว ได้ดำเนินการสำรวจวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณแม่น้ำท่าจีน โดยเฉพาะผักตบชวาที่มักจะแพร่ขยายพันธุ์และกระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการระบายน้ำในช่วงที่เกิดน้ำหลาก ทั้งในแม่น้ำสายหลักและจุดเชื่อมโยงกับแม่น้ำสายรองด้วย เพื่อนำไปสู่การวางแผนการกำจัดวัชพืชและบริหารจัดการเชิงพื้นที่ได้อย่างตรงจุด ป้องกันปัญหาวัชพืชกีดขวางการระบายของน้ำและบรรเทาปัญหาน้ำล้นตลิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป