สถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจําวันที่ 13 กรกฎาคม 2566

กองอํานวยการน้ําแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ํา ประจําวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ดังนี้

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 9/2566 ลงวันที่ 12 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 15 – 20 ก.ค. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่สาย และแม่จัน) จังหวัดน่าน (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปัว และเชียงกลาง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุนยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และบึงโขงหลง) จังหวัดสกลนคร (อำเภอโคกศรีสุพรรณ) จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอบุณฑริก) ภาคตะวันออก จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง และเกาะกูด) และภาคใต้ จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง สุขสำราญ และกะเปอร์) จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่ เกาะลันตา คลองท่อม เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง ห้วยยอด และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง) จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง ป่าบอน และควนขนุน) จังหวัดนราธิวาส (อำเภอระแงะ)

2. สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้น

3. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืชในลำห้วยหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย บริเวณคลองลากฆ้อน ตำบลคลองพระยาบบันลือ อำเภอบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คลองขนาก อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำเตรียมความพร้อมในการระบายน้ำ ในช่วงฤดูฝน 2566

4. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จัดโครงการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้า และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ภาคตะวันตก พร้อมรับมือฤดูฝนปี 66 เตรียมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัยอย่างมีเอกภาพ ย้ำการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำสู่ภาคประชาชนให้เข้าถึง รวดเร็วและแม่นยำ ณ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการฝึก โดยจะเป็นการถอดบทเรียนจากการเกิดสถานการณ์อุทกภัย การจัดกิจกรรมครั้งนี้จะเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานในมาตรการที่ 8 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน) และมาตรการที่ 10 การเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน