วาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งที่เกิดแน่นอนสำหรับทุกคน ทุกคนล้วนต้องการให้ชีวิตในระยะสุดท้าย ได้รับการดูแลให้ปลอดจากความทุกข์ทรมานทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณซึ่งในสังคมไทยยังเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความตายที่เกิดขึ้นน้อยมากอันเนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้เกิดการยื้อความตายทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยทั้งในส่วนที่เกิดจากตัวโรคเองและจากการรักษาที่ไม่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทำให้การตายที่ควรเป็นไปอย่างสงบ
ณ โรงแรมโฆษะขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 เป็นประธาน “งานสร้างสุขที่ปลายทาง วางแผนและเตรียมความพร้อมของชีวิตเพื่อสุขที่ปลายทาง” โดยมี นพ.วัชรพงษ์ รินทระ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ(Service Plan) สาขาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Paliative care) เขตสุขภาพที่ 7 นายสุทธินันท์ บุญมี ประธานคณะกรรมการ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแห่งประเทศไทย พระหมอภูวัต ภูริวฑฺฒโน วัดท่าประชุม บ้านฝาง ขอนแก่น นพ.นิยม บุญทัน ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอสม.ในพื้นที่ เขตร้อยแก่นสารสินธุ์ กว่า 300 คน ร่วมกิจกรรมดังกล่าว
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีจำนวนผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่อาจรักษาให้หายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สภาพของสังคมเช่นนี้ย่อมจะส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนของสังคมทั้งหมด ทำให้มีกลุ่มวัยแรงงานลดน้อยลง ภาระของลูกหลานในการดูแลผู้สูงอายุจะมากขึ้น ภาครัฐและเอกชนจะต้องขยายกรอบอายุการเกษียณอายุเพราะอัตราแรงงานลดน้อยลง ภาระค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้เกิดการยื้อความตายทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยทั้งในส่วนที่เกิดจากตัวโรคเองและจากการรักษาที่ไม่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทำให้การตายที่ควรเป็นไปอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กลับกลายเป็นการตายอย่างทุกข์ทรมานของทั้งตนเองและครอบครัววาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งที่เกิดแน่นอนสำหรับทุกคน ทุกคนล้วนต้องการให้ชีวิตในระยะสุดท้าย ได้รับการดูแลให้ปลอดจากความทุกข์ทรมานทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณซึ่งในสังคมไทยยังเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความตายที่เกิดขึ้นน้อยมาก บ่อยครั้งมักจะบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องอัปมงคลกับชีวิต หรือบางครั้งก็ไม่เห็นความสำคัญ
นพ.ธนรักษ์ กล่าวต่อว่าสำหรับผู้ที่เข้าใจสัจธรรมของชีวิตแล้ว การตายดีควรเป็นการตายตามธรรมชาติโดยไม่ต้องฝืน เมื่อวาระสุดท้ายมาถึงก็ ตายตาหลับ โดยไม่ห่วงกังวล จากไปในบรรยากาศที่อบอุ่นในสภาพที่จิตเป็นอิสระ และปล่อยวางจากความยึดมั่นทั้งปวง ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยที่บ้านหรือในชุมชน การสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งการสร้างการรับรู้เข้าใจ และทัศนคติที่ดี
เรื่องการตายดี จึงเป็นสิ่งสำคัญมากการจัดเวทีสาธารณะเปิดพื้นที่ทางสังคมให้ภาคประชาชนเกิดการรับรู้เรื่องสิทธิด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตฯ ตามมาตรา 12 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ครั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ และ ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้นำและผู้แทนในชุมชน แก่ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต และสามารถนำความรู้ไปสื่อสารส่งต่อให้กับประชาชนในชุมชนให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต ต่อไปการจัดเวทีสาธารณะซึ่งในวันนี้ ได้ขอกราบอนุโมทนาบุญพระคุณเจ้าภูวัต ภูริวฑฒโน วัดท่าประชุม บ้านฝาง ขอนแก่น ที่ได้กรุณามาบรรยายธรรมให้ความรู้ในเรื่องการเตรียมตัว เพื่อการตายดีตามแนวพระพุทธศาสนา และขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ผู้บริหารโรงพยาบาลขอนแก่น ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน ที่ได้เสียสละเวลามาร่วมแลกเปลี่ยนและสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน
ด้าน นพ.วัชรพงษ์ รินทระ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care) เขตสุขภาพที่ 7 กล่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายสนับสนุนเรื่องการดูแลแบบประคับประคองผ่าน Service plan สาขาการดูแลแบบประคับประคอง(palliative care) โดยมีกรมการแพทย์เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน Service plan สาขานี้ ซึ่งปัจจุบันสามารถขยายงานไปยังเขตสุขภาพทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ โดยการจัดกิจกรรมในวันนี้ เขตสุขภาพที่ 7 ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สข.) ร่วมกับเขตสุขภาพที่ 7 และ โรงพยาบาลขอนแก่น ได้สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดเวทีสาธารณะเปิดพื้นที่ทางสังคมให้ภาคประชาชนเกิดเรื่องสิทธิด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตฯ ตามมาตรา 12 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 โดยจัดกิจกรรมสื่อสาร เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ให้กับกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน ได้แก่ อสม. ,ผู้นำชุมชน รวมถึงผู้สื่อข่าวฯ
นพ.วัชรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วัตถุประสงค์เพื่อจัดเวทีสาธารณะสร้างการรับรู้ในเรื่องสิทธิด้านสุขภาพในระยะสุดท้ายของชีวิตและส่งเสริมการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาฯ (Living will) ตามมาตรา 12 พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ให้กลุ่มประชาชนที่เป็นผู้นำและผู้แทนในชุมชนให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการเตรียมตัวสำหรับวาระสุดท้ายของชีวิตในทุกมิติสู่การตายดี และจัดกิจกรรมให้มีการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาฯ (Living will) อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้นำและผู้แทนในชุมชนสามารถนำความรู้ไปสื่อสารส่งต่อให้กับประชาชนในชุมชนให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตพร้อมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ วิชาการ เอกชนและประชาสังคม ร่วมกันจัดกิจกรรมสื่อสารสาธารณะ เรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่
พระคุณเจ้าภูวัต ภูริวฑฺฒโน วัดท่าประชุม บ้านฝาง ขอนแก่น กล่าวว่า เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาเรา เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับพระพุทธศาสนา เพราะไม่ใช่เรื่องธรรมดา บันไดเป็นเรื่องในตำนาน ของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรง สอนให้พวกเราระลึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา เพราะทำให้เราเกิดสิ่ง 2 อย่างคือ 1.ความไม่ประมาท 2.ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากกับพระพุทธศาสนา ดังนั้นอาตมาก็อยากมาย้ำเตือนสิ่งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ ฝากไว้ ก่อนที่จะเสด็จปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงเตือนว่าสังขารทั้งหลาย ไม่แน่นอน จงตั้งจิตภาวนา และส่งบอกไปว่าตั้งจิตภาวนา ของตนให้เพียบพร้อม ทำสิทธิ์เพื่อตนเองและเพื่อผู้อื่น และพระองค์ทรงตรัสฝากในสิ่งที่จะมาคุยในวันนี้ หรือซึ่งอาตมาจะได้มาเทศน์ให้ฟังในวันนี้
นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่าทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกับเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตที่ 7 และเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 7 ขอนแก่น ภาคีเครือข่าย รวมทั้งพี่น้องประชาชน อสม.ได้ร่วมกันจัดเวทีสาธารณะสร้างสุขที่ปลายทาง”วางแผนและเตรียมความพร้อมของชีวิตเพื่อการจากไปแบบธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า ไปดีเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่ให้สังคมไทย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลซึ่งกันและกัน เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ ของคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวิตในระยะสุดท้าย เราจะทำอย่างไรให้มีความสุข และไม่ทรมานเจ็บป่วยที่เรื้อรัง แม้กระทั่งยื้อความตายโดยไม่จำเป็น เพราะฉะนั้นสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมดูแลซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ก่อนจะถึงปลายทางชีวิต ทุกช่วงวัยได้รับการดูแล
นายสุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้นวันนี้ที่เรามาชวนภาคีเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 7 มาร่วมกันเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน และจะมาดูว่าในช่วงปลายทางชีวิตเราดูแลอย่างไรให้เกิดสุขภาวะที่ดี ส่วนการสนับสนุนทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้สนับสนุนกระบวนการในการสร้างเวทีสาธารณะ เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆได้เข้ามาเรียนรู้รับรู้เข้าใจซึ่งกันและกัน และจะมีการฝึกปฏิบัติด้วยว่า การแสดงเจตนาที่ไม่ประสงค์จะรับบริการในระยะสุดท้าย ดูแลกันไปเพื่อยึดระยะเวลากันตายหรือยื้อเวลาโดยไม่จำเป็น หรือในระยะสุดท้ายต้องการรับบริการแบบไหน เพราะฉะนั้นการเขียนบันทึกเจตนา จะได้รับการฝึกในวันนี้ด้วย.