เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับจังหวัดนครสวรรค์ ด้านการพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วย นายศิริพงศ์ คุมพ์ประพันธ์ รองผู้อํานวยการฝ่าย ด้านการตลาด ฝ่ายบริการสินค้า การรถไฟฯ และนายจุมพฏวรรณ ฉัตรศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรม 42C เดอะ ซิค โฮเทล จังหวัดนครสวรรค์
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสํานักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างการรถไฟฯ กับจังหวัดนครสวรรค์ โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาให้จังหวัดนครสวรรค์ให้เป็นจุดเชื่อมต่อสําคัญใน ระบบการขนส่งทางรางระหว่างภาคเหนือกับจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้ กําหนดเป้าหมายในการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ 20 ปี โดยกําหนดให้อําเภอตาคลีให้เป็นอําเภอต้นแบบ Takhi Sandbox (ตาคลี แซนบ๊อกซ์) ดังนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย และจังหวัดนครสวรรค์ จึงเล็งเห็นถึง ความสําคัญและโอกาสที่จะพัฒนาการขนส่งทางรางในจังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางราง โดยใช้พื้นที่สถานีรถไฟจันเสนเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์หลายรูปแบบ (Multimodal Logistics Hub) รองรับ การขนส่งทางราง และการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Model shifting) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นไปตาม นโยบายของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ที่มุ่งเน้นสนับสนุนส่งเสริมการขนส่งสินค้าภายในประเทศ และ การส่งออกสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศจีน ซึ่งมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อไปยังกลุ่มประเทศยุโรป เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่การรถไฟฯ รวมทั้งช่วยยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับ นานาประเทศ
การขนส่งสินค้าทางราง ถือว่าเป็นระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ํา ประหยัดพลังงาน และ มีความคุ้มค่า สามารถขนส่งได้ครั้งละจํานวนมากกว่าทางถนนหลายเท่าตัว โดยที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้ สนับสนุนกลุ่มบริษัทพันธมิตรทางการค้า ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ทดลองเปิดเดินขบวนรถขนส่ง สินค้าทางรถไฟ ไปยังศูนย์กระจายสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟในหลายเส้นทาง และขณะนี้ยังดําเนินการอยู่อย่าง ต่อเนื่อง อาทิ สินค้าเกลือ ทุเรียน ยางพารา และ ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด เมล็ดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งถือเป็นอีกก้าว สําคัญที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนถ่ายการขนส่งจากทางถนนมาสู่การขนส่งทางราง
นายเอกรัช กล่าวทิ้งท้ายว่า การรถไฟฯ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพการขนส่งสินค้าทางราง อย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์โดยตรง สามารถนําสินค้าในท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชนขนส่ง กับทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงแหล่งผลิตไปยังจุดหมายปลายต่างๆ ช่วยอํานวยความสะดวกด้านการขนส่ง ลดมลพิษ ลดระยะเวลาการเดินทาง ช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งให้ภาคประชาชน และเอกชน เพิ่มขีด ความสามารถระบบขนส่งโลจิสติกส์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ และก้าวไปสู่ การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียนต่อไป ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการขนส่งสินค้า ภาคเกษตร หรือภาคอุตสาหกรรม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง