ชป.ในพื้นที่อีสานกลางและอีสานล่าง หารือร่วมกันรับมือน้ำน้อยและน้ำหลาก

3 สำนักงานชลประทาน ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล จับมือกันหารือแนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล รับมือทั้งน้ำน้อยและน้ำหลากในช่วงฤดูฝนปี 2562 กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน ลดความเสี่ยงทั้งปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง

ในช่วงบ่ายวันที่ 9 ก.ค. 62 นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 เป็นประธานในการประชุม การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลในช่วงฤดูฝน โดยมีผู้บริหารจากสำนักงานชลประทานที่ 7 และ 8 เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมลำน้ำชี สำนักงานชลประทานที่ 6 ขอนแก่น

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน เปิดเผยหลังการประชุมว่า ได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานทุกแห่ง จัดสรรการใช้น้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์น้ำปัจจุบัน เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าฤดูฝนปี 2562 นี้ปริมาณฝนมีเกณฑ์ตกน้อยกว่าปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 3 และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 5 -10 รวมทั้งในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมมีแนวโน้มที่จะเกิดฝนตกน้อย ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์น้ำที่ช่วงฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นมา พบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีปริมาณน้ำในอ่างฯเหลือเพียง 583 ล้านลูกบาศก์เมตร(ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือ 1.52 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำในอ่างฯประมาณ 569 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 469 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ ส่วนที่เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ มีปริมาณน้ำประมาณ 50 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 12.60 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 10 ของความจุอ่างฯ

ทั้งนี้ ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ชลประทานที่มีพื้นที่ติดกับลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล ในพื้นที่ภาคอีสานตอนกลางและอีสานตอนล่าง เพื่อวางแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน โดยการติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ ที่เพียงพอต่อการใช้น้ำตลอดฤดูฝน และเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึงนี้ด้วย ทั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นอันดับแรก ซึ่งได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทาน ดำเนินการเก็บกักน้ำในเขื่อนให้ได้มากที่สุด ไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักน้ำต่ำสุดตามช่วงเวลา โดยจะใช้น้ำชลประทานเพื่อการเกษตรกรณีที่ฝนทิ้งช่วงและมีปริมาณน้ำเพียงพอสนับสนุนการเกษตรเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังให้โครงการชลประทานจังหวัดทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อรายงานสถานการณ์น้ำให้ทราบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์แนะนำให้เกษตรกรทยอยเพาะปลูกตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ หากพื้นที่ใดที่ยังไม่เริ่มการเพาะปลูกข้าว ขอให้เลื่อนเวลาการเพาะปลูกข้าวออกไปในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงที่มีฝนตก เพื่อรักษาปริมาณน้ำไว้ให้เพียงพอต่อการใช้น้ำของทุกภาคส่วน หรือจนกว่าจะมีฝนตกชุกตามฤดูกาลปกติ รวมทั้งได้วางแผนเตรียมความพร้อมมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชน มีการเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และรถบรรทุกน้ำ พร้อมให้การ