ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.เชียงราย (83) จ.จันทบุรี (74) จ.บึงกาฬ (70) จ.สตูล (54) จ.ลพบุรี (28) จ.กาญจนบุรี (25)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,224 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,817 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ บริเวณ จ.ตาก
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีการปฏิบัติการฝนหลวง ประจำวันที่ 24 มิ.ย. 66 ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จำนวน 19 จังหวัด ได้แก่ จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ชัยนาท สิงห์บุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา เลย ขอนแก่น หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ช่วยเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำจำนวน 13 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำคลองตรอน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำซับตะเคียน อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำลาด อ่างเก็บน้ำกระเสียว เขื่อนอุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำห้วยอีเลิศ อ่างเก็บน้ำหนองนาวัว อ่างเก็บน้ำหนองหญ้าม้า และเขื่อนปราณบุรี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคตะวันออก บริเวณ จ.จันทบุรี และตราด
สทนช. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นผังน้ำ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 21-22 มิ.ย. 66 สทนช. จัดการประชุมโครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกครั้งที่ 1 พร้อมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนภาครัฐและเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ ทั้งในห้องประชุมและผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวนกว่า 300 ท่าน
การศึกษาการจัดทำผังน้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ จัดทำผังน้ำ จัดทำข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่ในระบบทางน้ำตามผังน้ำ ซึ่ง ข้อมูลผังจะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม รวมทั้งจัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผังน้ำให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ รวมถึงวางแผนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ มีการจัดการระบบเส้นทางน้ำเพื่อกำหนดขอบเขตเส้นทางน้ำ อนุรักษ์ลำน้ำ และแจ้งให้ประชาชนทราบถึงพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยในระดับต่างๆ และการใช้ประโยชน์ที่ดินในระบบทางน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกีดขวางการไหลของน้ำในทางน้ำ อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม
สำหรับการประชุม ได้ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำผังน้ำ รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำผังน้ำ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อ (ร่าง) ผังน้ำ และรายการประกอบผังน้ำ (ร่าง 1) เพื่อนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ สภาพปัญหา ข้อวิตกกังวลต่าง ๆ จากทุกภาคส่วนไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุง (ร่าง) ผังน้ำให้มีความสมบูรณ์ และจะนำเสนอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะอีกครั้ง ในการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 2 ต่อไป