+ ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ตราด (120) จ.ระนอง (88) จ.สกลนคร (88) จ.สุโขทัย (68) จ.กาญจนบุรี (31) และ จ.สระบุรี (18)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,080 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,673 ล้าน ลบ.ม. (53%)
+ คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง และแม่กลองค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
+ พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พิษณุโลก ตาก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคกลาง ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สถกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาการ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี และนราธิวาส
+ สทนช. ติดตามความคืบหน้าแผนบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำชี พร้อมเน้นย้ำรับมือสถานการณ์เอลนีโญ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 66 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ติดตามความก้าวหน้าผลการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ณ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น จากผลการศึกษาพบว่า มีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งประมาณ 7.47 ล้านไร่เนื่องจากมีปริมาณน้ำเก็บกักรวม 2,478 ล้าน ลบ.ม. มีความต้องการใช้น้ำ 3,370 ล้าน ลบ.ม./ปี ทำให้ขาดแคลนปริมาณน้ำ 504 ล้าน ลบ.ม/ปี ในขณะที่ฤดูฝนมีปริมาณน้ำส่วนเกินที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมประมาณ 440 ล้าน ลบ.ม./ปี ทำให้มีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมมากกว่า 1.31 ล้านไร่
ทั้งนี้ มีแผนงานโครงการที่ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งสอดคล้องตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) โดยแบ่งแผนงานการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะกลาง (ปี 2568-2570 และระยะยาว (ปี 2571-2580) จำนวน 2,978 โครงการ โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง มีปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น 1,250 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 998,000 ไร่ ลดปริมาณน้ำหลากได้ 207 ล้าน ลบ.ม. ทำให้พื้นที่น้ำท่วมลดลง 684,000 ไร่ เติมน้ำให้แหล่งน้ำขนาดเล็กตลอดสองฝั่งลำน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง 1,348 แห่ง รวมทั้งมีระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนเพิ่มขึ้นอีก 28 แห่ง