1. ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์ พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 7-11 มิถุนายน 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว แม่แจ่ม แม่วาง กัลยาณิวัฒนา จอมทอง สะเมิง อมก๋อย และฮอด) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จังหวัดลำพูน (อำเภอทุ่งหัวช้าง แม่ทา บ้านโฮ่ง และป่าซาง) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) จังหวัดแพร่ (อำเภอเด่นชัย) จังหวัดพิจิตร (อำเภอบางมูลนาก) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอฟากท่า) จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอบรรพตพิสัย) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี) จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอหนองขาหย่าง) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดสระแก้ว (อำเภอวัฒนานคร) จังหวัดชลบุรี (อำเภอพานทอง) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง บ้านค่าย และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แหลมสิงห์ และขลุง) จังหวัดตราด (อำเภอเกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง เมืองตราด แหลมงอบ และคลองใหญ่) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอ คลองท่อม เกาะลันตา เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) จังหวัดยะลา (อำเภอรามัน)
2. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมใช้งานอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อจากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งช่วยเร่งระบายน้ำในคลองบางซื่อและคลองสาขาต่างๆ คลอบคลุมพื้นที่ 56 ตารางกิโลเมตร ใน 8 เขต
ได้แก่ เขตห้วยขวาง เขตดินแดง เขตพญาไท เขตจตุจักร เขตลาดพร้าว วังทองหลาง บางซื่อ และดุสิต
3. สภาพอากาศ
ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมชายฝั่งประเทศเมียนมา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันตก
4. การบริหารจัดการน้ำ
การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ สทนช. ร่วมกับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ และ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ประชุมหารือโครงการพัฒนาการเติมน้ำใต้ดิน เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง สำหรับการจัดทำ “คู่มือการเติมน้ำใต้ดินสำหรับท้องถิ่น” เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานระดับท้องถิ่นและคนในชุมชน ได้นำคู่มือดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการดําเนินการเติมน้ำใต้ดินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ รวมทั้งป้องกันการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน และช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน รวมทั้งเป็นการเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งสําหรับการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร ช่วยลดปัญหาขาดแคลนน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย