ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น มีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกเล็กน้อยถึงหนักมากบริเวณ จ.ศรีสะเกษ (100) จ.เชียงใหม่ (60) จ.ระนอง (54) จ.นครนายก (16) จ.สระบุรี (10) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (10)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,604 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,206 ล้าน ลบ.ม. (53%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมกรมชลประทาน ได้จัดส่งรถบรรทุกน้ำ เข้าไปแจกจ่ายน้ำให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่บ้านป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน รวมถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ซึ่งได้ดำเนินการมา ตั้งเเต่วันที่ 11 เม.ย. 66 ถึงปัจจุบัน ได้ให้การสนับสนุนรถบรรทุกน้ำไปแล้ว จำนวน 79 เที่ยว คิดเป็นปริมาณน้ำ 948,000 ลิตร และจะช่วยเหลือไปจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
กอนช. ประกาศ ฉบับที่ 5/2566 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กอนช. พบว่าประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 7 –11 มิ.ย. 66 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้
1. ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (อ.เชียงดาว แม่แจ่ม แม่วาง กัลยาณิวัฒนา จอมทอง สะเมิง อมก๋อย และฮอด) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุนยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จ.ลำพูน (อ.ทุ่งหัวช้าง แม่ทา บ้านโฮ่ง และป่าซาง) จ.ตาก (อ.แม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) จ.แพร่ (อ.เด่นชัย) จ.พิจิตร (อ.บางมูลนาก) จ.อุตรดิตถ์ (อ.ฟากท่า) จ.นครสวรรค์ (อ.บรรพตพิสัย) จ.เพชรบูรณ์ (อ.วิเชียรบุรี) จ.อุทัยธานี (อ.หนองขาหย่าง)
2. ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา (อ.บ้านโพธิ์) จ.สระแก้ว (อ.วัฒนานคร) จ.ชลบุรี (อ.พานทอง) จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง บ้านค่าย และแกลง) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี แหลมสิงห์ และขลุง) จ.ตราด (อ.เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง เมืองตราด แหลมงอบ และคลองใหญ่)
3. ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.กะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จ.พังงา (อ.กะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.กะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จ.กระบี่ (อ.คลองท่อม เกาะลันตา เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จ.สตูล (อ.ละงู) จ.ยะลา (อ.รามัน)
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำหรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที