การปลูกทุเรียนในพื้นดินเชิงเขา ต.เขาจ้าว อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

พี่หนุ่ม-สุทน เดินทางไปเก็บข้อมูลการปลูกทุเรียนในพื้นดินเชิงเขา ต.เขาจ้าว อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มาเล่าให้ฟัง พี่หนุ่ม-สุทน ได้พูดคุยกับคุณชาตรี จาบกัน เจ้าของพื้นดินเชิงเขาตะนาวศรี ซึ่งปลูกต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองมากถึง 12 ไร่ ในพื้นดินเชิงเขา

คุณชาตรีหรือพี่ต๋อย ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นสมาชิก อบต.เขาจ้าวหมู่ 6 บ้านแพรกตะลุย เล่าเรื่องให้พี่หนุ่ม-สุทนฟัง ขอย้อนกลับไปประมาณ 35 ปีที่ผ่านมา แต่เดิมพี่ต๋อยเป็นคนเมืองเพชรบุรี มีอาชีพรับจ้างก่อสร้างและต่อมาได้รู้จักกับเพื่อนอยู่ ต.เขาจ้าว อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อนพี่ต๋อยชักชวนให้มาทำไร่เชิงเขาเพื่อปลูกมะนาว เหตุผลเพราะว่าเมืองเพชรบุรีปลูกมะนาวได้ผลผลิตดี และราคาสูงโดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง เมื่อคุณชาตรีหรือพี่ต๋อย เข้ามาทำไร่ปลูกมะนาวก็ได้ผลผลิตเป็นที่หน้าพอใจสามารถส่งขายตามตลาดนัดได้และมาในปี 2547 มีเกษตรกรเดินทางไปขอพันธุ์ทุเรียนมาจากชาวบ้านบนป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นเทือกเขาเชื่อมติดต่อกัน พอเอากิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองมาปลูกช่วงแรกประมาณ 10 ต้นเวลาผ่านไป 6-7 ปี ก็ได้ผลผลิตทุเรียน ซึ่งเรียกชื่อเขาจ้าวตามชื่อ ต.เขาจ้าว ได้ผลผลิตดีมากชาวเกษตรกรพอใจยิ่งนัก และเอาทุเรียนเขาจ้าวไปขายตามตลาดนัดเริ่มต้นราคา 25-35 บาทต่อกิโลกรัม? ปรากฎว่าขายได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะไม่มีคนรู้จักทุเรียนเขาจ้าว แต่ถ้าหากบอกเป็นทุเรียนทาง จ.ระยองและ จ.จันทบุรี ผู้บริโภคทุเรียนรู้จักกันเป็นอย่างดี โอ้โฮน่าน้อยใจนิดนึงครับ

และทำไมคนรู้จักทุเรียนเขาจ้าว? พี่หนุ่ม-สุทน จะเล่าให้ฟังต่อนะจ๊ะ ต่อมาทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการ จัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยว จ.ประจวบคีรีขันธ์ คือททท.สนง.ประจวบคีรีขันธ์ ได้นำคณะสื่อมวลชนเดินทางขึ้นไปบนป่าละอู เพราะป่าละอูมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจโดยเฉพาะได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาบนป่าละอูและสถานที่ท่องเที่ยวเช่นน้ำตกป่าละอูเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีทุเรียนป่าละอูทุเรียนต้นแรกปลูกขึ้นมาในปี 2521 เมื่อสื่อมวลชนเก็บข้อมูลแล้วได้ประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นมาเที่ยวบนป่าละอูและกินทุเรียนด้วย ก็เลยทำให้นักท่องเที่ยวเริ่มรู้จักทุเรียนป่าละอูมากยิ่งขึ้น และต่อมาทาง อ.ปราณบุรี ก็นำสื่อมวลชนในท้องถิ่นเดินทางเข้าไปเก็บข้อมูลสวนทุเรียนในเขต ต.เขาจ้าว และมีการจัดงานส่งเสริมการขายทุเรียนเขาจ้าวขึ้นมาก็เริ่มเป็นที่รู้จักของนักกินทุเรียนในเขต อ.ปราณบุรี

ยังมีอีกนะ เมื่อทางร้านนู๋จวบ เป็นร้านจำหน่ายสินค้าชุมชนใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ช่วยกันส่งเสริมการขายอีกทางหนึ่ง คือได้จัดบุฟเฟต์กินทุเรียน 2 อำเภอ น่าสนใจมากครับ มีทุเรียนป่าละอูและทุเรียนเขาจ้าว ถือว่าเป็นราชินีผลไม้แห่งขุนเขา โอ้โฮเป็นทุเรียนพี่กับน้องนะจ๊ะ ว้าวว้าวขอบอกรสชาติของทุเรียนป่าละอูและทุเรียนเขาจ้าว มันส์สุดยอดความอร่อยจริงๆ ครับ เนื้อนุ่มๆ หอมหวานและกรอบนอกนุ่มในจ้า เนื้อสีเหลือง เห็นแล้วอยากกินมากๆ เหตุผลเพราะว่าทุเรียนเขาจ้าวปลูกในพื้นดินเชิงเขาตะนาวศรีและเป็นเทือกเขาเชื่อมกันเป็นเขตแดนไปถึงเมียร์ม่าร์ ดังนั้นเทือกเขาตะนาวศรี พอฝนตกหนักน้ำฝนที่ไหลจะนำพาแร่ธาตุลงมาทับถมและซึมลงใต้พื้นดินทำให้ดินดี น้ำดีและมีอากาศดีด้วย เหตุผลนี้จึงเชื่อว่าทำให้ทุเรียนเขาจ้าว รสชาติอร่อยเป็นที่นิยมชมชอบของคนชอบกินทุเรียนครับ

 

พี่หนุ่ม-สุทน ขอสารภาพ เป็นอีกคนที่ชอบกินทุเรียนมากๆ และครั้งนี้ได้กินทุเรียนเขาจ้าว วันที่ได้เดินทางไปเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมายืนกินทุเรียนใต้ต้นทุเรียนสวน ต.เจริญทรัพย์ กินไปแล้ว 7 เม็ดเนื้อทุเรียนนะจ๊ะ ขอบอกอร่อยจุงเบยว้าวๆ ต้องหาโอกาสเดินทางไปอีกสักครั้งหนึ่ง เพราะทุเรียนเขาจ้าวออกสู่ตลาดประมาณกลางเดือนกรกฎาคมและกลางเดือนสิงหาคม 2562 นี้เท่านั้น สำหรับสวน ต.เจริญทรัพย์มีต้นทุเรียน 3 ต้น อายุกว่า 30 ปี ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่า 100 ลูกน่าทึ่งมาก และต้นอื่นๆ ก็ให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจมาก นักท่องเที่ยวควรจะเดินทางเข้าไปศึกษา และปัจจุบันทุเรียน ต.เขาจ้าวมีทั้งหมดประมาณ 420 ไร่ พันธุ์ทุเรียนหมอนทองทางชาวเกษตรกรไปซื้อมาจาก จ.ระนองและ จ.ชุมพร ส่วนทุเรียนพันธุ์หมอนทองเมื่อปลูกแล้วก็กลายพันธุ์เป็นทุเรียนเขาจ้าว ตามชื่อ ต.เขาจ้าว อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

สำหรับถนนเดินทางเข้าและออกแสนลำบากมากเมื่อยิ่ง 35 ปีที่ผ่านมาชาวบ้านในหมู่ 6 เค้าจะเดินทางไปซื้ออาหารในตัว อ.ปราณบุรี ใช้เวลาไปและลับร่วม 3-4 ชั่วโมงเนื้อหมูเน่าเสีย? ไม่น่าเชื่อแต่ต้องเชื่อเพราะคุณชาตรีหรือพี่ต๋อย เล่าประสบการณ์ให้ฟังครับเดินทางด้วยรถจี๊ป(Jeep ) คันเล็กๆ ขับเคลื่อน 4 ล้อ ใช้เดินทางแบบวิบาก วิบากได้เป็นอย่างดีครับ และปัจจุบันไฟฟ้าไม่มีลงไปใน ต.เขาจ้าว ชาวบ้านใช้เป็นโซล่าเซลล์ สัญญาณโทรศัพท์ไม่มี สำหรับถนนเป็นลูกรังเริ่มทำแล้วน่าจะแล้วเสร็จประมาณสิ้นปี 2562 ครับ

ส่วนคนชอบกินทุเรียนเขาจ้าวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณชาตรี จาบกัน โทรศัพท์ 090-4472336 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสถานที่ท่องเที่ยวใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ที่ ททท.สนง.ประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ 032-513885 และ 032-513871 ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.และขอบคุณนางสาวโศรยา หอมชื่น ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ ที่ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนชมรมนักข่าวท่องเที่ยวออนไลน์เป็นอย่างดีเยี่ยม

#ชมรมนักข่าวท่องเที่ยวออนไลน์
#เก็บเรื่องมาเล่าโดยหนุ่มสุทน
#bigmaptravel #เที่ยวเพลิน
#การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
#ทททสำนักงานสุรินทร์(สุรินทร์-ศรีสะเกษ)
#จังหวัดสุรินทร์ #ศรีสะเกษ
#ท่องเที่ยวชุมชน
#tourismlocallife