สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 เม.ย. 66

ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ยะลา (65 มม.) จ.แพร่ (47 มม.) และ จ.ตรัง (41 มม.)

น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 23,946 ล้าน ลบ.ม. (41%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 19,600 ล้าน ลบ.ม. (41%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

กอนช. เฝ้าระวังคุณภาพน้ำใช้อุปโภค-บริโภคให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้
กอนช. เฝ้าระวังคุณภาพน้ำตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566 (มาตรการที่ 7 เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ) เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำอุปโภค-บริโภคให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ โดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เตรียมป้องกันและเฝ้าระวังสถานการณ์คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำดิบ เนื่องจากในช่วงฤดูแล้งปริมาณน้ำดิบในแหล่งน้ำลดน้อยลงจากฝนทิ้งช่วง ประกอบกับน้ำทะเลหนุนสูงส่งผลกระทบให้แหล่งน้ำดิบมีค่าความเค็ม (คลอไรด์) สูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำบางปะกง (กปภ.สาขาฉะเชิงเทรา บางปะกง และปทุมธานี) ซึ่ง กปภ.ได้เตรียมแผนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อจัดการคุณภาพน้ำดิบด้านความเค็มให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
• การเก็บตัวอย่างน้ำดิบเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำและค่าความเค็มให้เป็นไปตามมาตรฐาน (ค่าคลอไรด์ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อฟลิตร)
• การเพิ่มความถี่ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ
• การวางแผนจ่ายน้ำจาก กปภ.สาขาใกล้เคียงที่ไม่ได้รับผลกระทบ
• การสำรวจแหล่งน้ำดิบสำรอง
• บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกรมชลประทานและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อประสานความร่วมมือในการผลักดันน้ำเค็มและร่วมกันเฝ้าระวังคุณภาพน้ำให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขอนามัยของประชาชนในทุกพื้นที่