ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางบริเวณ จ.นครราชสีมา (19 มม.) จ.เชียงใหม่ (14 มม.) และ จ.สตูล (12 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 29,238 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 23,019 ล้าน ลบ.ม. (48%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ลงพื้นที่ตรวจสอบหาสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 ที่คลองพระปรง บริเวณสถานีสูบน้ำดิบ
บ้านนางเลง อ.กบินทร์บุรี และแม่น้ำปราจีนบุรี บริเวณสถานีสูบน้ำดิบท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 เจือปนหรือตกค้างในแหล่งน้ำดิบของ กปภ.
กอนช. ติดตามการดำเนินงานตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566
ตามมาตรการที่ 4 กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปัจจุบัน (24 มี.ค.66) กรมชลประทาน ได้จัดสรรน้ำให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวนาปรังในช่วงฤดูแล้ง ปี 65/66 ทั่วประเทศแล้ว 19,682 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 72 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการจัดสรรน้ำไปแล้วประมาณ 7,113 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 79 ของแผน ปัจจุบันมีการเพาะปลูกพืชทั้งประเทศ 9.96 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 96 ของแผนฯ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยามีการเพาะปลูกแล้ว 6.31 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 95 ของแผนฯ ซึ่งเป็นไปตามแผนที่กำหนด
การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 65/66 เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ กรมชลประทาน จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้วเสร็จ ให้งดการเพาะปลูกข้าวนาปรังต่อเนื่อง (นาปรัง 2) เพื่อไม่ให้กระทบต่อแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง และเพื่อรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สามารถส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน ส่งไปสนับสนุนการใช้น้ำอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมไปถึงเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดด้วย