สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 มี.ค. 66 เวลา 7.00 น.

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีฝนตกเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนตกบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลาง ถึงหนักบริเวณ จ.นราธิวาส (53 มม.) จ.พระนครศรีอยุธยา (15 มม.) และ จ.ยะลา (15 มม.)

น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 31,503 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 24,942 ล้าน ลบ.ม. (52%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

กรมทรัพยากรน้ำ เดินเครื่องสูบน้ำของโครงการระบบส่งน้ำจากแม่น้ำน่าน- บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับบึงบอระเพ็ด เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญ เพื่อรักษาระบบนิเวศในบึงบอระเพ็ด และช่วยกักเก็บน้ำสำรอง ไว้ใช้เป็นแหล่งน้ำดิบในการผลิตประปาในพื้นที่ต.วังมหากร ต.พระนอน ต.พนมเศษ และในพื้นที่รอบบึงบอระเพ็ด ตามมติเห็นชอบแผนการจัดสรรน้ำของคณะทำงานบริหารงาน โครงการระบบส่งน้ำจากแม่น้ำน่าน-บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ปีงบประมาณ 2566 สามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบึงบอระเพ็ดได้ 518,400 ลูกบาศก์เมตร

กอนช. ติดตาม หน่วยงานดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566
กรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องจักรเครื่องมือและเฝ้าระวังกำจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้กระทบต่อคุณภาพน้ำและยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำให้เกษตรกรได้อย่างทั่วถึง อาทิ
– ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง บริเวณ ทรบ.พิสนธิ์ ต.สามเมือง อ.ลาดบัวหลวง
จ.พระนครศรีอยุธยา
– ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง บริเวณหมู่ที่ 6 ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา
– ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 8 นิ้ว อีก 1 เครื่อง ในพื้นที่ฟาร์มตัวอย่างโคกปาฆาบือซา ต.กะลุวอ อ.เมือง จ.นราธิวาส
– บริเวณคลองเลียบกั้นน้ำเค็ม สมุทรสงคราม – สมุทรสาคร ในเขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดำเนินสะดวก ต.นางตะเคียน อ.เมืองสมุทรสงคราม จ.สมุทรสงคราม
– บริเวณคลอง 2 ขวา – 1ซ้าย – 1ขวา ต.โพสังโฆ อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี
– บริเวณแม่น้ำปราณบุรี ในเขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปราณบุรี ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
– บริเวณคลองห้วยแม่ประจันต์ ในเขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแก่งกระจาน หมู่ 3 ต.ท่าตระคร้อ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี

ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งมีประสิทธิภาพ และสามารถส่งน้ำให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างทั่วถึง เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้งและแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2565/2566 ที่กำหนดไว้