วันที่ 2 มีนาคม 2566 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มอบหมาย กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน และสำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด ร่วมขับเคลื่อนโครงการอำเภอ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน
โดยนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กำกับติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าวของสถาบันการพัฒนาชุมชน โดย นางสาวมนทิรา เข็มทอง ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน นำทีมขับเคลื่อนโครงการอำเภอ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 7 ระหว่าง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2566 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นายอำเภอ ในฐานะหัวหน้าทีม ร่วมกับภาคีเครือข่าย 7 ภาคี ร่วมเป็นทีมอำเภอ ๆ ละ 10 คน โดยรุ่นที่ 7 มีทีมอำเภอ ได้แก่ ปลัดอำเภอ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ ผู้นำภาคศาสนา ผู้นำภาคประชาชน ผู้นำภาควิชาการ ผู้นำภาคเอกชน และหัวหน้าศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ รวมทั้งสิ้น 1,120 คน จาก 112 อำเภอ 68 จังหวัด
ในการนี้ ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม พร้อมให้กำลังใจผู้เข้ารับการฝึกอบรม รุ่นที่ 7 ดังนี้
1. นายวิศิษฐ์ เบญจพิทักษ์กุล ปลัดจังหวัดสุโขทัย ตรวจเยี่ยมฯ ณ ศพช.พิษณุโลก
2. นายเศวต เพชรนุ้ย ปลัดจังหวัดสงขลา ตรวจเยี่ยม ณ ศพช.ยะลา
3. นายผดุงศักดิ์ อิ่มเอิบ ปลัดจังหวัดมหาสารคาม ตรวจเยี่ยมฯ ณ ศพช.นครราชสีมา
4. นายภคพัส ส่งวัฒนายุทธ ปลัดจังหวัดเพชรบุรี ตรวจเยี่ยมฯ ณ ศพช.เพชรบุรี
5. นายชนาธิป โคกมณี ปลัดจังหวัดสระแก้ว ตรวจเยี่ยม ณ ศพช.ชลบุรี
การฝึกอบบรมและฝึกปฏิบัติ มีดังนี้
เวลา 05.00 น. นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “การขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของการร่วมทุน 3 ภาคี ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน” โดยเชื่อมโยงจุดเด่นของแต่ละภาคีมาประสานการทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พร้อมนำเสนอโมเดลต้นแบบในการพัฒนาเมืองและการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง
เวลา 09.00 – 12.00 น. ฝึกปฏิบัติเรียนรู้ ทฤษฎีใหม่ด้านการบริหารจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า สู่การพัฒนาตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ ตามฐานการเรียนรู้ ดังนี้
1. ฐานเรียนรู้ปุ๋ยหมักชีวภาพ
2. ฐานเรียนรู้ฅนรักษ์ป่า
3. ฐานเรียนรู้ฅนรักษ์สุขภาพ
4. ฐานเรียนรู้หัวคันนาทองคำ
5. ฐานเรียนรู้ฅนมีไฟ
โดยคณะวิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ทั้ง 11 แห่ง เวลา 13.00 น. ฝึกปฏิบัติการ “จิตอาสาพัฒนา เอามื้อสามัคคี” และ “จิตอาสาภัยพิบัติ หาอยู่ หากิน” โดยคณะวิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ทั้ง 11 แห่ง ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่จำลอง ภายในศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ทั้ง 11 แห่ง และฝึกประสบการณ์การแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจ หรือสถานการณ์ภัยพิบัติ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือในสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลา 19.00 น. ได้ฝึกปฏิบัติการ “การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนงานพื้นที่จากการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่” ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกการวิเคราะห์สถานการณ์ความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนสู่ความยั่งยืน และนำเสนอผลการจัดทำแผนร่วมกัน วิทยากรโดยที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้แก่ ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล
ทั้งนี้ นางสาวมนทิรา เข็มทอง ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน มอบหมาย นางปาริชาติ สุรบัณฑิตวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการ พร้อม นางสาวรุ่งนภา อุปมา ผู้อำนวยการกลุ่มงานจัดการความรู้ และ นางสาววิจิตรา กุบแก้ว นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติการสื่อสารระบบ Zoom Cloud Meetings (ส่วนกลาง) ณ ห้องสมุดกรมการพัฒนาชุมชน ชั้น 5 กรมการพัฒนาชุมชน