สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 ก.พ. 66 เวลา 7.00 น.

ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็น ภาคใต้มีฝนน้อย

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา (15 มม.) จ.พังงา (8 มม.) และ จ.เลย (6 มม.)

น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 34,062 ล้าน ลบ.ม. (59%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 27,168 ล้าน ลบ.ม. (57%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำตื้นให้กับประชาชนในพื้นที่บริเวณ บ.ป่าแขม ม.5 ต.วังซ้าย อ.วังเหนือ จ.ลำปางเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคให้กับประชาชน ปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 80% โดยมีผู้ได้รับผลประโยชน์ทั้งสิ้น 190 ครัวเรือน 494 คน

กอนช. ติดตามสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาฉบับที่ 3

ตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศฉบับที่ 3 เรื่องฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2566 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 7 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และคลื่นลมแรง โดยช่วงระหว่างวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง บริเวณ จ.สงขลา (อ.จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย) ปัตตานี (อ.เมืองฯ กะพ้อ ปะนาเระ มายอ ยะรัง ยะหริ่ง) ยะลา (อ.เมืองฯ รามัน ยะหา กาบัง) และนราธิวาส (อ.เมืองฯ จะแนะ เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ แว้ง สุคิริน สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี)

ทั้งนี้ กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ โดยติดตามสภาพอากาศและปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่อย่างใกล้ชิด พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำ พยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด