สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ก.พ. 66 เวลา 7.00 น.

ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ปัตตานี (159 มม.) จ.นราธิวาส (125 มม.) และ
จ.สุราษฎร์ธานี (74 มม.)

น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 37,073 ล้าน ลบ.ม. (64%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 29,796 ล้าน ลบ.ม. (62%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามมติ ครม. วันที่ 29 พ.ย 65 โอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยแล้ว 4 ครั้ง 129,068 ครัวเรือน เป็นเงิน 961,024,000 บาท (20, 24, 31 ม.ค. 66 และ 1 ก.พ. 66) และเตรียมโอนจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัย ดังนี้

-ครั้งที่ 5 (3 ก.พ 66) ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ เชียงราย นนทบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และอุทัยธานี จ่ายเงิน 57,317 ครัวเรือน เป็นเงิน 330,675,000 บาท

– ครั้งที่ 6 (3 ก.พ 66) ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 17 จังหวัด สุโขทัย ลำปาง พิจิตร พะเยา พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ศรีสะเกษ ขอนแก่น อุบลราชธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ เพชรบุรี ภูเก็ต และสตูล จ่ายเงิน 59,554 ครัวเรือน เป็นเงิน 372,540,000 บาท

– ครั้งที่ 7 (6 ก.พ. 66) ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ตาก ปทุมธานี และนครปฐม จ่ายเงิน 27,175 ครัวเรือน เป็นเงิน 173,425,000 บาท

ทั้งนี้ ปภ.อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูล 20 จังหวัด 155,416 ครัวเรือน จำนวนเงิน 898,360,000 บาท ได้แก่ เพชรบูรณ์ มหาสารคาม นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ สุราษฎร์ธานี ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร หนองบัวลำภู กรุงเทพมหานคร ระนอง น่าน ตรัง นครราชสีมา บุรีรัมย์ เชียงราย และนครนายก

สวทช. จับมือ มรภ.ลำปาง ลงนามความร่วมมือสู่ชุมชน มุ่งเน้นเกษตร บริหารจัดการน้ำ กำลังคน
วันที่ 1 ก.พ. 66 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา การบริการวิชาการการจัดการความรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มุ่งเน้น 3 ด้านคือ การเกษตร การบริหารจัดการน้ำ และการพัฒนากำลังคน นำร่องด้วยฐานข้อมูลด้านคุณภาพน้ำประปาที่มีการปนเปื้อนฟลูออไรด์ โลหะหนัก และสารเคมีตกค้างด้วยนาโนเทคโนโลยี ในโรงเรียนพื้นที่ลำปางกว่า 100 แห่ง เพื่อสร้างนวัตกรคุณภาพน้ำ 100 คน รวมถึงนวัตกรรมตรวจวัดและพัฒนาคุณภาพน้ำ ในพื้นที่จังหวัดลำปางกว่า 270 ครัวเรือน ด้วยเป้าหมาย 2 ลด 3 เพิ่ม คือ ลดโรค ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มการเข้าถึงน้ำสะอาด เพิ่มคุณภาพน้ำและคุณภาพชีวิต

การมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยสาระสำคัญ คือ การบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียด้วยองค์ความรู้ทางเคมี และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่สร้างองค์ความรู้ด้านการวิจัยขั้นสูงและหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเชิงพื้นที่ โดยเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ โดยเพาะการบำบัดน้ำเสียด้วยองค์ความรู้ทางเคมีนั้น ปกติการบำบัดน้ำเสียจะใช้ระบบกรองต่างๆ ซึ่งบางครั้ง ก็จำเป็นต้องใช้ไส้กรองพิเศษ อาทิ เซรามิก ซึ่งเป็นเคมีขั้นสูงมาช่วยแก้ปัญหาสารปนเปื้อนต่างๆ ที่ระบบกรองธรรมดาอาจจะไม่เพียงพอ เพราะปัญหาสำคัญของไทยคือ คุณภาพน้ำ จำเป็นต้องใส่ใจเรื่องคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค

การนำความรู้สู่การปฏิบัติ การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการนำองค์ความรู้ด้านเคมีทั้งอินทรีย์และอนินทรีย์มาต่อยอดใช้ประโยชน์ในแง่การบริหารจัดการน้ำที่สำคัญอย่างมาก และต่อยอดเรื่องของน้ำเพื่อการบริโภค โดยเฉพาะเรื่องของการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแต่ละพื้นที่เพื่อดูความเสี่ยงต่อสุขภาพ ที่จะสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปขยายผลเพื่อดูความเสี่ยงเชิงสุขภาพ ร่วมกับหน่วยงานทางการแพทย์ต่อไป