เกษตรกรทั่วประเทศปลื้ม!! … “ประกันรายได้” เดินหน้าปี 4 สร้างความมั่นคงต่อเนื่อง

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังพบปะเกษตรกรและติดตามผลการดำเนินโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรในพื้นที่จังหวัดกระบี่ และสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 22 – 24 ธันวาคม 2565 ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากเกษตรกรเป็นอย่างดี ช่วยให้เกษตรกรมีหลักประกันด้านรายได้หากราคาตลาดต่ำกว่าราคาเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยปัจจุบันได้ดำเนินการปีนี้เป็นปีที่ 4 แล้ว และมีเกษตรกรมีสิทธิเข้าร่วมโครงการกว่า 8.16 ล้านครัวเรือน ครอบคลุมทั้ง 5 สินค้า ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ส่วนผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา (ปีการผลิต 2564/65) ซึ่งมีกรอบวงเงินรวม 115,112.21 ล้านบาท ได้สิ้นสุดการดำเนินการแล้ว โดยมีผลการจ่ายเงินชดเชย 88,483.72 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 77 ของเป้าหมาย)

สำหรับความคืบหน้าโครงการประกันรายได้ปี 4 สินค้าข้าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 และมาตรการคู่ขนาน เป้าหมายเกษตรกร 4.678 ล้านครัวเรือน วงเงินงบประมาณ 18,700.13 ล้านบาท กำหนดราคาประกันรายได้เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 14 ตัน) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 16 ตัน) ข้าวเปลือกปทุมธานี 11,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 25 ตัน) ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 30 ตัน) ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 16 ตัน) โดยขณะนี้ ได้ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง และโอนเงินชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรแล้ว 10 งวด จ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกร 2.535 ล้านครัวเรือน เป็นจำนวนเงิน 7,690.30 ล้านบาท และเมื่อวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงงวดที่ 11 เรียบร้อยแล้ว โดย ธ.ก.ส. จะโอนเงินให้เกษตรกรภายใน 3 วันทำการต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินมาตรการคู่ขนานควบคู่ไปกับโครงการประกันรายได้ เพื่อให้มีการซื้อผลผลิตเก็บในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากไม่ให้ราคาตลาดตกต่ำาลง ซึ่งจะช่วยรัฐบาลประหยัดค่าใช้จ่ายในการประกันรายได้ อาทิ ให้เกษตรกรเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง ได้รับค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท ให้สหกรณ์และผู้ประกอบการ (ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) เร่งรับซื้อเก็บสต็อกโดยช่วยเหลือดอกเบี้ย 3% เป็นต้น และสำหรับโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ยังคงหลักการเดิมเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่

ขณะนี้จ่ายให้เกษตรกรแล้วจ านวน 4.295 ล้านครัวเรือน วงเงิน 50,617 ล้านบาท ในส่วนโครงการประกันรายได้ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน คณะกรรมการนโยบายสินค้าเกษตร ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา สำหรับ
ยางพาราอยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) โดยกำหนดราคาประกันเช่นเดียวกับปี

ที่ผ่านมา ดังนี้ มันสำปะหลัง กำหนดราคาประกัน 2.50 บาท/กก. ไม่เกิน 100 ตัน/ครัวเรือน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กำหนดราคาประกัน 8.50 บาท/กก. ไม่เกิน 30 ไร่/ครัวเรือน ปาล์มน้ำมัน กำหนดราคาประกัน 4.00 บาท/กก. ไม่เกิน 25 ไร่/ครัวเรือน อายุ 3 ปีขึ้นไป และยางพารา กำหนดราคาประกัน (ไม่เกิน 25 ไร่ อายุ 7 ปีขึ้นไป) ส าหรับยางดิบ (ปริมาณ 20 กก./ไร่/เดือน) 60 บาท/กก. น้ำยางสด (DRC 100%) (ปริมาณ 20 กก./ไร่/เดือน) 57 บาท/กก. และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) (ปริมาณ 40 กก./ไร่/เดือน) 23 บาท/กก. อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ราคามันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน ปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าราคาประกันรายได้ ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบในหลักการมาแล้ว ก็จะเป็นหลักประกันให้เกษตรกรไว้ใช้ในช่วงที่ผลผลิตออกมากจนส่งผลให้ราคาปรับลดลงได้ทันเหตุการณ์