ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณ จ.นราธิวาส (233 มม.) จ.ปัตตานี (179 มม.) และ จ.ยะลา (141 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 43,361 ล้าน ลบ.ม. (75%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,402 ล้าน ลบ.ม. (74%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช.ประกาศฉบับที่ 56/2565 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวัง ดังนี้
1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ จ.ชุมพร ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตรัง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำชุมพร คลองหลังสวน แม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง คลองชะอวด แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา และแม่น้ำโก-ลก
กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำ และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ตามประกาศ กอนช. ฉบับที่ 56/2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) มีฝนตกหนักสะสมติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้ระดับน้ำในลุ่มน้ำสายหลักเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย กอนช. ได้สั่งการให้หน่วยงานบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมและปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ โดยกรมชลประทานดำเนินการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย ดังนี้
– พร่องน้ำในพื้นที่ล่วงหน้าเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝน โดยปัจจุบันพร่องน้ำได้มากกว่า 3.6 ล้านลูกบาศก์เมตร
– เตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ประจำจุดเสี่ยง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทันที
– กำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมขุดลอกคลอง เพื่อสามารถรองรับน้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ
– ตรวจสอบอาคารชลประทาน จำนวน 131 แห่ง ให้มีความพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กอนช. เน้นย้ำหน่วยงานติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง