สตง. ห่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชน

1 ธันวาคม 2565 สตง. ห่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชน รวมถึงปัญหาการว่างงานของประชาชนและบัณฑิตจบใหม่ จึงเข้าตรวจสอบและให้คำแนะนาการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ตำบล ภายใต้กรอบวงเงินกว่า 10,000 ล้านบาท หวังให้มีการสร้างงาน พัฒนาอาชีพ และชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

ทั้งนี้ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) เป็นโครงการเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ตำบล ภายใต้กรอบวงเงิน 10,629.60 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ นำองค์ความรู้และนวัตกรรมเข้าไปถ่ายทอดให้กับชุมชนเพื่อการพัฒนาและยกระดับสินค้า OTOP ยกระดับการท่องเที่ยว นำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนเพื่อสร้างรายได้และสร้างอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม

นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โดยการสุ่มตรวจสอบมหาวิทยาลัย จำนวน 14 แห่ง และตำบลที่เข้าร่วมโครงการ จานวน 42 ตำบล มีข้อตรวจพบและข้อสังเกตที่สำคัญ ดังนี้

1. ผลลัพธ์ของโครงการปีที่ 1 บางส่วนยังไม่เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กาหนด โครงการดังกล่าวได้กำหนดตัวชี้วัดที่ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชนเพื่อเอาชนะความยากจน 16 ประการ เช่น ความสามารถวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย สัมมาชีพเต็มพื้นที่ การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ จากการตรวจสอบพบว่ามีกลุ่มตำบลที่พัฒนาไปสู่ตำบลพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนมากกว่าเป้าหมายที่กาหนด อย่างไรก็ตาม มีตำบลจานวน 55 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 1.83 ของตำบลที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดที่มีผลการดาเนินงานต่ากว่าค่าเป้าหมายและอยู่ในกลุ่มตำบลที่ยังไม่รอดพ้นจากความยากลำบาก

นอกจากนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการบางส่วนมีความเห็นว่ารายได้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ในขณะเดียวกัน พบว่าโครงการดังกล่าวยังไม่มีการวัดผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจและสังคมในปีที่ 2 เพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ของการดาเนินโครงการ ส่งผลให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ทราบถึงความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณเงินกู้ได้อย่างชัดเจน รวมทั้งไม่ทราบถึงปัญหาอุปสรรคที่อาจทาให้ไม่บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหวังของโครงการ และยังส่งผลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบขาดข้อมูลสำคัญที่จะใช้ในการพัฒนาต่อยอดโครงการในปีที่ 1 ซึ่งบางส่วนยังไม่เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนด 2

2. ผลการดำเนินโครงการตามกิจกรรมหลักบางกิจกรรมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โครงการดังกล่าวได้แบ่งกิจกรรมการดำเนินงานออกเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการจ้างงาน กิจกรรมการพัฒนาตำบล และกิจกรรมการบริหารจัดการโครงการ จากการตรวจสอบพบว่า กิจกรรมการจ้างงานซึ่งกาหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา รวม 720,000 อัตรา แต่มีการจ้างงานได้จำนวน 629,819 อัตรา หรือคิดเป็นร้อยละ 87.47 ของเป้าหมายที่กำหนด

นอกจากนี้ ยังพบว่าการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการในภาพรวมยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กาหนด โดยมีผลการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 9,373.09 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 88.18 ของกรอบวงเงินงบประมาณโครงการ และมีเงินงบประมาณ คงเหลือ จำนวน 1,256.51 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.82 ของกรอบวงเงินงบประมาณโครงการ โดยกิจกรรมการจ้างงานมีจำนวนเงินงบประมาณคงเหลือจ่ายมากที่สุด จำนวน 716.53 ล้านบาท ทำให้การหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

อีกทั้งยังพบว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่มีการรายงานเงินกู้และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่าย หลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการให้กระทรวงการคลังรับทราบ ส่งผลให้รัฐเสียโอกาสในการนำเงินกู้ที่เหลือจ่ายไปใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการอื่น ตลอดจนเกิดภาระทางการเงิน (ดอกเบี้ยเงินกู้) ที่จะต้องใช้คืนจากการที่ไม่ได้นำเงินกู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

รายงานการตรวจสอบของ สตง. ยังได้ระบุข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Thailand Community Big Data: TCD) เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน โดยยังไม่มีการเผยแพร่เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจสามารถนาฐานข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ทำให้การใช้งบประมาณในการดำเนินการจัดทาฐานข้อมูลดังกล่าว จำนวน 20 ล้านบาท ยังไม่เกิดความคุ้มค่าเท่าที่ควร เป็นต้น

จากผลการตรวจสอบข้างต้น สตง. จึงได้มีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่กำกับดูแล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ให้มีการทบทวน วิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคสำคัญที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการ ทั้งจากหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุนระดับพื้นที่ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เร่งรัดจัดทาหลักเกณฑ์ แนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการในปีที่ 2-5 ให้เกิดความชัดเจนโดยให้ความสำคัญกับการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างยั่งยืน

พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบ แนวทางดำเนินการ กิจกรรมให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด กำหนดแนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนให้มีความชัดเจน โดยกำหนดหน่วยงานผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และผู้รับผิดชอบในการปรับปรุง พัฒนาฐานข้อมูล เพื่อให้พร้อมใช้งานและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ฯลฯ