สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 พ.ย. 65 เวลา 7.00 น.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึง บริเวณ จ.เชียงใหม่ (82 มม.) จ.ยะลา (77 มม.) และ จ.สุราษฎร์ธานี (71 มม.)

น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 43,782 ล้าน ลบ.ม. (76%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,888 ล้าน ลบ.ม. (75%)

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี

สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมซนเมืองและเกษตรกรรม รวม 13 จังหวัด ได้แก่
• ภาคกลาง 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนคปฐม
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร และอุบลราชธานี
• ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ สงขลา และปัตตานี

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำท่วมขังและช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 54/2565 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 21 – 24 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้

เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ จ.เพชรบุรี (อ.ท่ายาง บ้านลาด ชะอำ แก่งกระจาน และเมืองเพชรบุรี) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (อ.บางสะพาน เมืองประจวบคีรีขันธ์ ทับสะแก บางสะพานน้อย และกุยบุรี) จ.ระนอง (อ.ละอุ่น) จ.ชุมพร (อ.ปะทิว เมืองชุมพร สวี ทุ่งตะโก หลังสวน ละแม ท่าแซะ และพะโต๊ะ) จ.สุราษฎร์ธานี (อ.ดอนสัก เกาะสมุย กาญจนดิษฐ์ บ้านนาสาร เกาะพะงัน เมืองสุราษฎร์ธานี บ้านนาเดิม พุนพิน พนม บ้านตาขุน และท่าชนะ) จ.พังงา (อ.คุระบุรี ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง เมืองพังงา กะปง ทับปุด และตะกั่วทุ่ง) จ.ภูเก็ต (อ.ถลาง และเมืองภูเก็ต) จ.กระบี่ (อ.ปลายพระยา อ่าวลึก และเมืองกระบี่) จ.ตรัง (อ.นาโยง เมืองตรัง ห้วยยอด และรัษฎา) จ.นครศรีธรรมราช (อ.ทุ่งสง ลานสกา ร่อนพิบูลย์ ขนอม ช้างกลาง นาบอน พระพรหม จุฬาภรณ์ สิชล เมืองนครศรีธรรมราช นบพิตำ ฉวาง พรหมคีรี เฉลิมพระเกียรติ พิปูน ทุ่งใหญ่ ชะอวด ถ้ำพรรณรา ท่าศาลา บางขัน และปากพนัง) จ.พัทลุง (อ.ศรีนครินทร์ ศรีบรรพต เมืองพัทลุง ควนขนุน และป่าพะยอม) จ.สตูล (อ.ละงู และเมืองสตูล)

เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำชุมพร คลองหลังสวน แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำสวี แม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำตรัง และแม่น้ำปากพนัง