กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตามงานโครงการปรับปรุงดินชั้นฐานรากอ่างเก็บน้ำมรสวบ ตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อปรับปรุงเขื่อนและฐานราก โดยวิธีการก่อสร้างเสาดินซีเมนต์ และงานอัดฉีดสารเคมีพร้อมงานติดตั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
2. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
2.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 43,826 ล้าน ลบ.ม. (76%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 35,943 ล้าน ลบ.ม. (75%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,727 ล้าน ลบ.ม. (93%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,157 ล้าน ลบ.ม. (62%)
2.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 14,117 ล้าน ลบ.ม. (78%)
3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 ถึงปัจจุบัน)
3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 35,514 ล้าน ลบ.ม. (75%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 829 ล้าน ลบ.ม. (4%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 193 ล้าน ลบ.ม. (2%)
4. ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
4.1 แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในภาพรวมทั้งประเทศ จำนวน 16.30 ล้านไร่ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกแล้ว 0.94 ล้านไร่ (6%) สำหรับข้าวนาปรัง มีแผนการเพาะปลูก 13.55 ล้านไร่ มีการเพาะปลูกแล้ว 0.84 ล้านไร่ (6%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีแผนการเพาะปลูกพืช 9.23 ล้านไร่ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกแล้ว 0.59 ล้านไร่เพาะปลูกน้อยกว่าแผน 8.64 ล้านไร่ (6%) สำหรับข้าวนาปรัง มีแผนการเพาะปลูก 8.51 ล้านไร่ มีการเพาะปลูกแล้ว 0.53 ล้านไร่ เพาะปลูกน้อยกว่าแผน 7.98 ล้านไร่ (6%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการฝึกอบรม หลักสูตรเสริมสร้างความรู้ด้านการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำบาดาลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 15 พ.ย 65 ณ โรงแรมลีการ์เดนส์พลาซ่า หาดใหญ่ อำเภอเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการเจาะและพัฒนาน้ำบาดาล การอนุรักษ์น้ำบาดาล และการควบคุมกิจการน้ำบาดาลให้แก่บุคลากรขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น