รายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 12 ตุลาคม 2565

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 50/2565 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำท่าจีน กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำท่าจีน พบว่ามีฝนตกหนัก ในช่วงวันที่ 9 – 10 ตุลาคม 2565 บริเวณตอนบนเขื่อนกระเสียว ส่งผลให้วันที่ 11 ตุลาคม 2565 มีน้ำปริมาณมากไหลเข้าเขื่อนกระเสียว 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีปริมาณน้ำเก็บกัก 318 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 106 และมีน้ำไหลผ่านอาคารระบายน้ำล้นและอาคารระบายน้ำในตัวเขื่อน รวม 130 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลงสู่ลำห้วยกระเสียวและแม่น้ำท่าจีนตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นในช่วงวันที่ 13 – 16 ตุลาคม 2565 ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้คาดการณ์ระดับน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน บริเวณปากน้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่ใกล้เคียง จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ จึงขอให้เฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ลำห้วยกระเสียว บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ตำบลแจงงาม และหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง ตำบลกระเสียว และหนองสะเดา อำเภอสามชุก ตำบลหนองกระทุ่ม ป่าสะแก วังศรีราช หัวเขา และบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นและล้นตลิ่งประมาณ 0.10 – 0.15 เมตร และแม่น้ำท่าจีน บริเวณตั้งแต่อำเภอสามชุก ศรีประจันต์ เมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า และสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางเลน นครชัยศรี และสามพราน จังหวัดนครปฐม อำเภอกระทุ่มแบน และเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.15 – 0.30 เมตร

2. ผลการดำเนินงาน
กรมชลประทาน สนับสนุนรถขุดไฮดรอลิคตีนตะขาบแบบแขนยาว จำนวน 3 คัน เข้าปฏิบัติงานเสริมคันดินกั้นน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำ D8 (ห้วยพระคือ) ตำบลพระคือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อป้องกันน้ำไม่ให้ไหลท่วมบ้านเรือน รวมทั้งเร่งดำเนินการนำ Big bag จัดทำแนวผนังกั้นน้ำท่วมบริเวณพื้นที่บ้านท่าโพธิ์ ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เพื่อป้องกันน้ำไหลเอ่ยเข้าท่วมในเขตพื้นที่และลดผลกระทบจากการเกิดอุทกภัยในเขตพื้นที่ชุมชนให้น้อยที่สุด

3. สถานการณ์น้ำท่วม
จากสถานการณ์มสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย รวมถึงสถานการณ์พายุ “โนรู (NORU)” ที่เข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2565 ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขัง ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. – 8 ต.ค. 65 ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 34 จังหวัด ภาคเหนือ 9 จังหวัด เชียงใหม่ พิจิตร ตาก สุโขทัยกำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคกลาง 9 จังหวัด ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปทุมธานี และนครปฐม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ปราจีนบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ภาคตะวันตก 1 จังหวัด กาญจนบุรี