เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัย นวัตกรรมเพื่อสุขอนามัยผู้ขับขี่

หากพูดถึงรถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ เรียกได้ว่า แทบจะเป็นยานพาหนะคู่ใจของผู้ใช้รถ ใช้ถนนเป็นอย่างมาก ด้วยความสะดวก คล่องตัว และรวดเร็วในการเดินทาง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น และเมื่อนึกถึงรถจักรยานยนต์ สิ่งที่ต้องมาคู่กันอย่างขาดไม่ได้ คือ หมวกนิรภัย หรือ หมวกกันน็อก

ซึ่งนอกจากจะช่วยในเรื่องของความปลอดภัย ป้องกันการบาดเจ็บหนักของศีรษะ ลดแรงกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วย แต่ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ เรื่องของความสะอาด และสุขอนามัยของผู้สวมใส่ เพราะการใช้หมวกกันน็อกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้มีกลิ่นอับชื้น หรือเกิดการสะสมของเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมของผู้ที่ต้องใช้บริการโดยสารรถจักรยานต์รับจ้างเป็นประจำ

ด้วยเหตุนี้ ในการประกวด Prime Minister’s Award 2021 ทีม NWM..Safety Roads 3 Plus จากวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชููทิศ กรุุงเทพมหานคร ซึ่งเล็งเห็นปัญหานี้ จึงได้ทำการศึกษาข้อมูล และคิดผลงานนวัตกรรม เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัย เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร เพื่อสร้างความปลอดภัย และความมั่่นใจให้กับผู้ใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ ระดับอาชีวศึกษามาครองได้ และในปีนี้ทางทีม NWM..Safety Roads 3 Plus ก็ได้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการต่อยอดพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ Health Promotion Innovation Booster Program เพื่อต่อยอดผลงานนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ครอบคลุม และตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

 รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา สสส. ให้แนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานนวัตกรรมแก่เยาวชนว่า เรื่องนวัตกรรมเป็นเรื่องที่คนทุกกลุ่ม ทุกสาขาอาชีพ สามารถคิดและสร้างสรรค์ได้ เพียงแต่คิดสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านใดด้านหนึ่งมากขึ้น นวัตกรรมจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ และเรื่องไกลตัว ไม่มีผิดถูก แต่เป็นการทดลอง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์และประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และในการเข้าร่วมโครงการประกวดนวัตกรรมนั้น สิ่งที่มากกว่ารางวัลที่ได้รับ ก็คือ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ที่ได้ระหว่างเข้าร่วมโครงการ ซึ่งอยากให้ทีมเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำสิ่งที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในอนาคต

นายณเรศ สิงหโยธิน หรือน้องธรรศ ตัวแทนทีม NWM..Safety Roads 3 Plus เล่าว่า เหตุผลที่ต้องการต่อยอดนวัตกรรม ‘เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัย เพื่่อเสริมสร้างสุุขภาวะของผู้ขับขี่่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร’ เพื่อพัฒนาชิ้นงานนวัตกรรมเพิ่มเป็นเเบบมีที่หยอดเหรียญ สร้างความสะดวกสบายให้เเก่ผู้ใช้งาน โดยจะพัฒนาให้การหยอดเหรียญมีความเสถียรภาพ สามารถใช้งานได้ตามฟังก์ชันการทำงานที่ต้องการของผู้ใช้งาน สะดวกและรวดเร็ว

พร้อมทั้งทำ QR Code อธิบายความสำคัญของนวัตกรรมและคู่มือการใช้งาน ประโยชน์ในการใช้ที่ส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งพัฒนาระบบการทำงานเชื่อมโยงด้วยระบบโทรศัพท์มือถือ ควบคุมการทำงานด้วยการควบคุมผ่านระบบ WIFI  และพัฒนาระบบหลอด UVC ในระบบเพิ่มเติมสร้างการฆ่าเชื้อโรคได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมแสดงผลนับระยะเวลาถอยหลังด้วย LCD หรือ LED

กระบวนการใช้งาน

.นำหมวกนิรภัยที่ต้องการฆ่าเชื้้อโรคใส่ในเครื่่อง (สามารถเสียบปลั๊๊กต่อกับไฟฟ้า 220 โวลต์หรือไฟบ้านทั่่วไป) และปิดประตููเครื่่อง ซึ่่งเครื่่องฆ่าเชื้้อโรคนี้้ สามารถใส่ได้ครั้้งละ 2 ใบ โดยใส่ได้ชั้้นละ 1 ใบ

2.กดปุ่มเริ่มทำงาน ตั้งวลาตามความต้องการของผู้ใช้ว่าอยากจะฆ่าเชื้อหมวกนิรภัยกี่่นาที โดยจะมีจอแสดงผลการทำงานด้วยจอ LCD

– 3 นาที เหมาะกับหมวกที่่สกปรกน้อย ทำความสะอาดบ่อย ในระยะ 1-3 วัน

– 6 นาที เหมาะกับหมวกที่่ใช้ต่อเนื่่องหรือวางทิ้้งไว้เป็นสัปดาห์ โดยไม่ได้ทำความสะอาด

– 10 นาที แนะนำสำหรับหมวกที่่ใช้งานต่อเนื่่องนานเกินสัปดาห์ โดยไม่ได้ทำความสะอาดเลย หรือหมวกที่ทิ้้งไว้นานจนชื้้น หรือโดนฝนจนชื้้นมาก

3.รอจนปุ่มสีแดงแสดงขึ้้น จึงสามารถเปิดประตููเครื่่อง หยิบหมวกนิรภัยที่่ทำความสะอาดแล้วไปใช้งานได้

ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการและนวัตกรรม สสส. เล่าว่า สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม คือ กลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ใช้งาน ในส่วนของผลงานนวัตกรรม เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัย เพื่อเสริมสร้างสุุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร นั้น ถือว่าสามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ เห็นได้จากการนำผลงานไปติดตั้งในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานจริง อย่างวินมอเตอร์ไซค์ ตำรวจจราจร มายืนต่อแถวรอใช้งาน ด้วยรูปลักษณ์ที่เรียบง่าย สะดุดตา ใช้งานง่าย คล้ายกับการใช้งานเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ จึงมีผู้ให้ความสนใจใช้งานเป็นจำนวนมาก เพราะแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้ได้จริง

มากกว่า ‘รางวัล’ คือ ‘ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างทาง’ สสส. ยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ สนับสนุนทุกนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ  รวมทั้งสร้างและพัฒนาเยาวชนไทยให้เป็น “เมล็ดพันธุ์นวัตกรสร้างเสริมสุุขภาพ” ที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการประดิษฐ์  คิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรมให้สามารถใช้ได้จริง เพื่อสนับสนุุนการสร้างเสริมสุุขภาพของสังคมไทยอย่างยั่งยืน

เรื่องโดย ปัญจวรา บุญสร้างสม Team Content www.thaihealth.or.th

ข้อมูลบางส่วนจาก โครงการต่อยอดพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ Health Promotion Innovation Booster Program