สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 ก.ย. 65

+ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จ.ชัยภูมิ (162 มม.) จ.เพชรบูรณ์ (158 มม.) และจ.พะเยา (109 มม.)

+การแจ้งเตือนน้ำหลาก – ดินถล่ม

เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ดังนี้

1. ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี และเพชรบูรณ์

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

3. ภาคกลาง จ.สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

4. ภาคตะวันออก จ.นครนายก สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

5. ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และนราธิวาส

เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและ ลำน้ำสาขา ของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเลย แม่น้ำชี ลำน้ำเชิญ ลำน้ำพรม ลำน้ำพอง แม่น้ำมูล แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำตราด

เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด 17 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล แม่มอก บึงบอระเพ็ด ทับเสลา กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำนางรอง ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และนฤบดินทรจินดา รวมทั้งอ่างฯขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำทั่วประเทศ

เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 1–7 ต.ค. 65ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.30 – 0.60 เมตร บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทองพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 60,111 ลบ.ม. (73%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 52,522 ล้าน ลบ.ม. (73%)

+กอนช. ติดตาม สถานการณ์พายุ “โนรู” จังหวัดอุบลราชธานี

สถานการณ์ลุ่มน้ำชี-มูล ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่สถานีวัดน้ำ M.7 อ.เมือง จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 3,870 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้น

กรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบบไฮโดรโฟล์เพิ่มเติมที่บริเวณแก่งสะพือ อ.พิบูลมังสาหาร จำนวน 9 เครื่อง และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติมอีก ที่บริเวณสะพานโขงเจียม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำไปแล้วที่บริเวณสะพานพิบูลมังสาหาร 140 เครื่อง เร่งผลักดันน้ำในลำน้ำมูลให้ไหลลงสู่แม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด

ส่วนในพื้นที่ตอนบน ได้ยกบานประตูระบายน้ำทุกบานตลอดแนวแม่น้ำชี-มูล เพื่อเร่งระบายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น สำหรับพื้นที่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ยังคงให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำ เร่งสูบระบายออกจากพื้นที่จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ทั้งนี้ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ และช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน